เปรียบเทียบการลดลงของระดับเบต้าทูไมโครโกลบูลินในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือด ระหว่างการฟอกเลือดด้วยตัวกรองรูใหญ่พิเศษร่วมกับเรซินดูดซับสารยูรีมิก เปรียบเทียบกับการฟอกเลือดด้วยวิธีฮีโมไดอะฟิลเตชั่นประสิทธิภาพสูง
ณัฐชยา เข็มนาค, ขจร ตีรณธนากุลภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการกำจัดเบต้าทูไมโครโกลบูลิน ในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด ระหว่างการฟอกเลือดด้วยตัวกรองรูใหญ่พิเศษร่วมกับเรซินดูดซับสารยูรีมิก เปรียบเทียบกับการฟอกเลือดด้วยวิธีฮีโมไดอะฟิลเตชั่นประสิทธิภาพสูง
วิธีการวิจัย
การวิจัยแบบสุ่มเชิงทดลองแบบข้าม (Randomized, Cross Over Experimental study) โดยกลุ่มวิจัยเดียวกัน ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 10 ราย ทำการสุ่มผู้ป่วยเป็นสองกลุ่ม โดยกลุ่มแรกทำการฟอกเลือดด้วยตัวกรองรูใหญ่ พิเศษร่วมกับเรซินดูดซับสารยูรีมิกก่อน กลุ่มที่สองทำการฟอกเลือด ด้วยวิธีโมไดอะฟิลเตชั่นประสิทธิภาพสูงก่อน ทำการฟอกเลือดวิธีละ 8 สัปดาห์ จากนั้นสลับวิธีกัน วัดประสิทธิภาพของแต่ละวิธีโดยการวัด ร้อยละการลดลงของเบต้าทูไมโครโกลบูลิน, ยูเรีย ติดตามจำนวน อัลบูมินที่รั่วออกทางน้ำยาฟอกเลือด
ผลการศึกษา
หลังการฟอกเลือดพบการลดลงของเบต้าทูไมโครโกลบูลิน จากทั้งสองวิธี โดยร้อยละการลดลงของเบต้าทูไมโครโกลบูลินจากการ ฟอกเลือดด้วยตัวกรองรูใหญ่พิเศษร่วมกับเรซินดูดซับสารยูรีมิกไม่ด้อยไปกว่าการฟอกเลือดด้วยวิธีฮีโมไดอะฟิลเตชั่นประสิทธิภาพสูง (83.7±4.9 เทียบกับ 84.0±4.3 %, p=0.37) สำหรับการกำจัดสารยูรีมิก โมเลกุลเล็กคือยูเรียพบว่า ร้อยละการลดลงของยูเรียจากการฟอกเลือดด้วยตัวกรองรูใหญ่พิเศษร่วมกับเรซินดูดซับสารยูรีมิกน้อยกว่าการฟอกเลือดด้วยวิธีฮีโมไดอะฟิลเตชั่นประสิทธิภาพสูง (82.1±4.9 เทียบกับ 85.8±3.7 %, P=0.01) ถึงแม้จะมีการรั่่วของอัลบูมินจากการฟอกเลือดด้วยตัวกรองรูใหญ่พิเศษร่วมกับเรซินดูดซับสารยูรีมิกจะมากกว่าวิธีฮีโมไดอะฟิลเตชั่นประสิทธิภาพสูง (4.2±2.4 เทียบกับ 0.5±0.8 กรัม/ครั้งการฟอกเลือด; P=0.004) แต่่จากการติดตามที่่ 8 สัปดาห์ ไม่พบความแตกต่างของระดับอัลบูมินในเลื อด
สรุป
การฟอกเลือดโดยเครื่องฟอกไตปกติโดยด้วยใช้ตัวกรองรูใหญ่พิเศษร่วมกับเรซินดูดซับสารยูรีมิก
ซึ่งสามารถทำได้ในศูนย์ฟอกไตทั่วไปมีประสิทธิภาพในการกำจัดเบต้าทูไมโครโกลบูลินได้ไม่ด้อยไปกว่าการฟอกเลือดด้วยวิธีฮีโมไดอะฟิลเตชั่น จึงสามารถใช้วิธีนี้้ได้หากไม่มีเครื่่องฟอกเลือดแบบประสิทธิภาพสูง
ที่มา
จุฬาอายุรศาสตร์ ปี 2563, October-December
ปีที่: 33 ฉบับที่ 4 หน้า 221-234