ผลของการให้ glycopyrrolate ก่อนการนำสลบเพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากยา propofol และลดสารคัดหลั่งขณะจัดท่าทางในผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วที่ไตและท่อไตแบบเปิด
กมลทิพย์ ประสพสุข*, ทรงวุฒิ ประสพสุข, ศุภเดช ตันรัตนกุลกลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของยา glycopyrrolate ในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของระบบ
หัวใจและหลอดเลือด และลดสารคัดหลั่งหลังการนำสลบด้วยยา propofol
สถานที่ศึกษา : ห้องผ่าตัดชั้น 4 โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดสองทาง
กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยผ่าตัด open urologic surgery, ASA physical status I-II จำนวน 64 คน
วิธีการศึกษา : แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มโดยวิธีการสุ่ม กลุ่มควบคุม (Group C) จะได้รับ normal saline 1
มิลลิลิตร และกลุ่มทดลอง (Group G) จะได้รับยา glycopyrrolate 0.2 มิลลิกรัม โดยแบ่ง
ให้ครั้งละ 0.1 มิลลิกรัม ที่เวลา 0 และ 2 นาที ก่อนใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้ป่วยทุกคนได้รับ
การนำสลบด้วยยา propofol 2.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยแบ่งให้ช้า ๆ และยา cisatracurium
0.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทำการใส่ท่อช่วยหายใจที่เวลา 5 นาที หลังให้ยา propofol
บันทึกความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ และปริมาณน้ำลาย ที่เวลา 2, 3, 5,
5.5 (ขณะใส่ท่อช่วยหายใจ) และ 7 นาที
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีภาวะความดันโลหิตต่ำ (ร้อยละ 56.3 และร้อยละ 34.4, p-value = 0.13) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พบว่ากลุ่มที่ได้รับยา glycopyrrolate มีภาวะหัวใจเต้นช้า (ร้อยละ 15.6 และร้อยละ 7.8, p-value=0.05) และมีปริมาณสารคัดหลั่งภายในช่องปาก (9.5 และ 0.5 มิลลิลิตร, p-value < 0.01) น้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป : ยา glycopyrrolate มีประสิทธิภาพในการป้องกันภาวะหัวใจเต้นช้า ลดสารคัดหลั่งภายในช่องปาก แต่ไม่สามารถป้องกันภาวะความความดันโลหิตต่ำ
ที่มา
Region 3 Medical and Public Health Journal ปี 2564, May-August
ปีที่: 18 ฉบับที่ 2 หน้า 156-166
คำสำคัญ
Propofol, Hypotension, ยา propofol, ความดันโลหิตตำ, Bradycardia, ความดันโลหิตต่ำ, Salivation, ภาวะหัวใจเต้นช้า, สารคัดหลั่งในช่องปาก