ประสิทธิภาพการใช้ยา Tranexamic Acid (TXA) สำหรับการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดแบบเฉียบพลันในการผ่าตัดคลอดแบบไม่ฉุกเฉินโดยการทดลองแบบสุ่มในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
วินัย รุคะ
กลุ่มงานสูตินรีเวชวิทยา โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาประสิทธิภาพยา  Tranexamic  acid  (TXA)  ทางหลอดเลือดดำในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดแบบเฉียบพลัน  ในมารดาชาวไทยที่มารับการผ่าตัดคลอดแบบไม่ฉุกเฉิน
วิธีดำเนินการวิจัย:  ศึกษาโดยคัดเลือกมารดามาผ่าตัดคลอดแบบไม่ฉุกเฉิน  โดยสูติแพทย์คนเดียวกัน  ในเดือนพฤศจิกายน  2563  –  เดือนมกราคม  2564  จำนวน 60  ราย  เป็นกลุ่มใช้ยา  TXA  30  ราย  และกลุ่มไม่ใช้ยา  TXA  30  ราย  โดยวิธีการสุ่มเลือกแบบจับฉลาก  เปรียบเทียบปริมาณเลือดหลังคลอด  ความเข้มข้นเลือด  ความเข้มข้นเลือดที่เปลี่ยนแปลง  การให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวมดลูกเพิ่ม  และการให้เลือด ในระยะเวลา 24 ชั่วโมงหลังทารกคลอด (เฉียบพลัน)
ผลการวิจัย:  ทั้งกลุ่มที่ได้รับยา  TXA  และไม่ได้รับยา  TXA  ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ในเรื่องปริมาณเลือดหลังผ่าตัดคลอด  (454.67  ซีซี  และ 467  ซีซี  โดยค่า  p  =  0.597)  ความเข้มข้นเลือด  (35.67%  และ  34.7%  โดยค่า p = 0.300) และความเข้มข้นเลือดที่ลดลง (47.92% และ 52.08% โดยค่า p = 0.519) ทั้งสองกลุ่มไม่มีการได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวมดลูกเพิ่ม การให้เลือด และภาวะตกเลือดหลังคลอด  
สรุป: การใช้ยา  Tranexamic  acid  ไม่สามารถป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดแบบเฉียบพลันจากการผ่าตัดคลอดแบบไม่ฉุกเฉิน
 
ที่มา
วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ปี 2565, September-December ปีที่: 11 ฉบับที่ 3 หน้า 628-640
คำสำคัญ
Tranexamic acid, Third stage of labor, ระยะที่สามของการคลอด, Acute postpartum hemorrhage, ภาวะตกเลือดหลังคลอดแบบเฉียบพลัน, กรดทรานเน็กซามิก