การศึกษาเปรียบเทียบอุณหภูมิแกนของผู้ป่วยทใช้ Forced-Air Warming ด้วยวิธี Modified Lower-Body Cover กับ Commercial Lower-Body Cover ในระหว่างการผ่าตัดช่องท้องขนาดใหญ่
มนสิชา สมจิตร, นรินทร์ พลายละหาร*, อัครวัฒน์ สินเกื้อกูลกิจ, วิลาวัลย์ สมดี, วิริยา ถิ่นชีลอง, พุ่มพวง สาระพาณิชย์ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น 40002 ประเทศไทย
บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: ภาวะอุณหภูมิแกนกายต่ำระหว่างการผ่าตัดช่องท้องขนาดใหญ่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง การควบคุมอุณหภูมิให้ได้มาตรฐานยังเป็นสิ่งท้าทาย การใช้เครื่องเป่าลมอุ่นร่วมกับผ้าห่มนั้นมีประสิทธิภาพมาก วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของอุณหภูมิแกนกายผู้ป่วยระหว่างผ่าตัดในการใช้ผ้าห่มลมอุ่น 2 ชนิด
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบสุ่มไปข้างหน้าและมีกลุ่มควบคุม ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดช่องท้องขนาดใหญ่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงตุลาคม พ.ศ.2559 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 ราย เปรียบเทียบอุณหภูมิแกนกายในกลุ่มที่ใช้ผ้าห่มลมอุ่นประยุกต์และผ้าห่มลมอุ่นจากบริษัทเวชภัณฑ์ ระหว่างการผ่าตัดสองชั่วโมงแรกโดยใช้ GLM และ repeated-measures ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษา: ข้อมูลพื้นฐานทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน ซึ่งอุณหภูมิแกนกายเฉลี่ยระหว่างการผ่าตัดในสองชั่วโมงแรกหลังดมยาสลบ คือ 35.94±0.65 และ 36.18±0.81๐C แตกต่างกัน -0.24 ๐C (95% CI -0.23, 0.71), p=0.313
สรุป: การควบคุมอุณหภูมิแกนกายโดยใช้ผ้าห่มลมอุ่นประยุกต์มีประสิทธิภาพเทียบเท่าผ้าห่มลมอุ่นจากบริษัทเวชภัณฑ์ แต่อย่างไรก็ตามควรศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
ที่มา
ศรีนครินทร์เวชสาร ปี 2564, July-August
ปีที่: 36 ฉบับที่ 4 หน้า 401-408
คำสำคัญ
Intraoperative hypothermia, Forced-air warming, Modified lower-body cover, Major abdominal surgery, อุณหภูมิแกนกายต่ำระหว่างผ่าตัด, ผ้าห่มลมอุ่นประยุกต์, ผ้าห่มลมอุ่นจากบริษัทเวชภัณฑ์, การผ่าตัดช่องท้องขนาดใหญ่