ผลของการใส่สายรัดข้อมือ (TR band) ภายหลังการเจาะเลือดต่อภาวะเลือดออกง่ายในผู้ป่วยที่ได้รับยาเฮพาริน
พีรญา จารุภุมรินหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 4C คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิคการห้ามเลือด 3 รูปแบบ
และการเกิดภาวะเลือดออกง่ายหลังการเจาะเลือดผู้ป่วยที่ได้รับยาเฮพาริน โดยใช้กรอบแนวคิดพื้นฐาน จากกลไกการห้ามเลือดเป็นแนวทางในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 102 รายที่คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2558 – กันยายน 2561 มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มโดยวิธีจับฉลาก แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 33 รายจะได้รับเทคนิคการห้ามเลือดรูปแบบ 1 รูปแบบปกติ กลุ่มทดลอง 1 จำนวน 32 รายจะได้รับเทคนิคการห้ามเลือดรูปแบบ 2 การใส่สายรัดข้อมือใส่ปริมาตรลม 13 มิลลิลิตรนาน 10 นาทีและกลุ่มทดลอง 2 จำนวน 37 รายจะได้รับเทคนิคการห้ามเลือดรูปแบบ 3 การใส่สายรัดข้อมือใส่ปริมาตรลม 13 มิลลิลิตรนาน 20 นาที เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินภาวะเลือดออกง่ายที่ผิวหนัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติอ้างอิงโดยน ามาทดสอบแบบฟิชเชอร์ ผลการวิจัยพบว่า เทคนิคการห้ามเลือด 3 รูปแบบและการเกิดภาวะเลือดออกง่ายหลังการเจาะเลือดผู้ป่วยที่ได้รับยาเฮพารินไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) โดยเทคนิคการห้ามเลือดรูปแบบ 1 พบการเกิดภาวะเลือดออกง่ายจำนวน 5 ราย (ร้อยละ 15.20) เทคนิคการห้ามเลือดรูปแบบ 2 พบการเกิดภาวะเลือดออกง่าย จำนวน 3 ราย (ร้อยละ 9.40) และเทคนิคการห้ามเลือดรูปแบบ 3 พบการเกิดภาวะเลือดออกง่ายจำนวน 3 ราย (ร้อยละ 8.10) ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นวิธีการห้ามเลือดหลังการเจาะเลือดผู้ป่วยที่ได้รับยาเฮพารินทางหลอดเลือดดำเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเลือดออกง่าย
ที่มา
Vajira Nursing Journal ปี 2562, July-December
ปีที่: 21 ฉบับที่ 2 หน้า 12-22
คำสำคัญ
Heparin, TR band, venipuncture, bleeding tendency, สายรัดข้อมือ, การเจาะเลือด, ภาวะเลือดออกง่าย, ยาเฮพาริน