การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาของสูตรยา 10-day modified ginger quadruple therapy กับสูตร 10-day standard concomitant therapy ในการกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร
นริศ ติวะตันสกุล
กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราการกำจัดเชื้อ ระหว่างยาสูตร 10–day modified ginger quadruple therapy กับ 10–day standard concomitant therapy ในการกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ prospective, open–label, randomized controlled trial, single center study โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยโรงพยาบาลบ้านโป่ง ที่ได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 โดยกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยมีการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไรจำนวน 161 คน ได้รับการเข้าร่วมการศึกษาโดยแบ่งแบบสุ่มในอัตราส่วน 1:1 กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยสูตรยา 10-day modified ginger quadruple (omeprazole 20 mg b.i.d., amoxicillin 1000 mg b.i.d., clarithromycin 500 mg b.i.d., และ ginger 1000 mg (t.i.d.) กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยสูตรยา 10-day standard concomitant (omeprazole 20 mg b.i.d., amoxicillin 1000 mg b.i.d., clarithromycin 500 mg b.i.d., และ metronidazole 400 mg t.i.d.) ใช้การตรวจอุจจาระด้วยวิธี stool antigen test เพื่อประเมินการกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร จากนั้นจะเก็บรวบรวมข้อมูลความสำเร็จในการกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร ผลข้างเคียงจากการใช้ยา การกินยาได้ครบถ้วน และความสามารถในการลดอาการปวดจุกแน่นท้อง
ผลการศึกษา: ในจำนวนกลุ่มประชากร 161 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการรักษา ด้วยสูตรยา 10–day modified ginger quadruple therapy 80 คน มีการกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไรสำเร็จร้อยละ 96.3 รักษาด้วยสูตร 10–day standard concomitant 81 คน มีการกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไรสำเร็จร้อยละ 96.3ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มกินยาได้ครบคิดเป็นร้อยละ 97.5 ผลข้างเคียงที่แตกต่างกันคือ อาการ bitter taste ในกลุ่มที่รักษาด้วยสูตรยา 10–day standard concomitant จะมีอาการ bitter taste ร้อยละ 35.8 กลุ่มที่รักษาด้วย  10–day modified ginger quadruple therapy จะมีอาการ bitter taste ร้อยละ 25 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .045) ผู้ป่วยที่รักษาด้วยสูตร 10-day standard concomitant มีอาการ nausea รุนแรง 2 คน (ร้อยละ 2.5), อาการ bitter taste รุนแรง 5 คน (ร้อยละ 6.2), และอาการ dizziness รุนแรง 3 คน (ร้อยละ 3.7) ผู้ป่วยที่รักษาด้วยสูตรยา 10-day modified ginger quadruple therapy มีอาการ fatigue รุนแรง 1 คน (ร้อยละ 1.3)
ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น dyspepsia จำนวน 64 คน แบ่งเป็น 44 คน ที่ได้รับการรักษาด้วยสูตรยา 10-day modified ginger quadruple therapy และ 20 คน ได้รับการรักษาด้วยสูตรยา 10-day standard concomitant therapy ในกลุ่มที่รักษาด้วย 10-day modified ginger quadruple therapy อาการ post prandial fullness, early satiety, epigastrium paining, และ epigastrium burning ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .003, p = .001, p = .001, และ p = .017 ตามลำดับ) ในกลุ่มที่รักษาด้วยสูตรยา 10-day standard concomitant therapy อาการ postprandial fullness, และ epigastrium paining ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .039, p = .008 ตามลำดับ) กลุ่มอาการ early satiety และ epigastrium burning มีอาการดีขึ้นบ้าง แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ( p = .068 และ p = .180 ตามลำดับ) แต่เมื่อเปรียบเทียบการรักษาด้วยสูตรยา 10-day modified ginger quadruple therapy และสูตรยา 10-day standard concomitant therapy ไม่พบความแตกต่างของประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วย dyspepsia ที่มีอาการ postprandial fullness, early satiety, epigastrium paining, และ epigastrium burning
สรุป: ประสิทธิภาพของการรักษาด้วยสูตรยา 10–day modified ginger quadruple therapy ในการกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไรและรักษาอาการ dyspepsia  ไม่ด้อยกว่าการรักษาด้วยสูตรยา 10–day standard concomitant therapy ข้อดี คือ มีอาการ bitter taste น้อยกว่า และไม่พบผลข้างเคียงรุนแรงด้าน nausea และ dizziness
 
ที่มา
วารสารแพทย์เขต 4-5 ปี 2564, October-December ปีที่: 40 ฉบับที่ 4 หน้า 497-514
คำสำคัญ
Helicobacter pylori eradication, 10-day modified ginger quadruple therapy, 10-day concomitant therapy, การกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร, การรักษาสูตรยา 10-day modified ginger quadruple therapy, การรักษาสูตรยา 10-day standard concomitant therapy