ผลของการบำบัด start over and survive (SOS) ต่อการลดการเสพซ้ำในผู้ป่วยโรคจิตที่มีปัญหาการใช้สารเสพติดเมทแอมเฟตามีน
โกศล วราอัศวปติ*, วรท ลำใย, กิตต์กวี โพธิ์โน, นพพร ตันติรังสี, ปราณี จันทะโมโรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบผลของการบำบัด start over and survive (SOS) ต่อการลดการเสพซ้ำในผู้ป่วยโรคจิตที่มีปัญหาการใช้เมทแอมเฟตามีน
วิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ประเมินผลก่อนบำบัดและหลังบำบัดครบ 3 เดือน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคจิตระยะแรกจำนวน 44 คนที่มีปัญหาการใช้เมทแอมเฟตามีนและเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในระหว่าง เดือนสิงหาคม 2562 - สิงหาคม 2563 กลุ่มทดลอง 23 คนได้รับการบำบัด SOS ประกอบด้วยการบำบัดรายบุคคลสำหรับผู้ป่วยใน 5 ครั้ง การพบปะญาติผู้ป่วย 1 ครั้ง การบำบัดติดตามผู้ป่วย 4 ครั้ง และการติดตามญาติ 2 ครั้ง กลุ่มควบคุม 21 คน ได้รับการบำบัดยาเสพติดตามปกติ ประเมินการเสพซ้ำโดยวัดปริมาณเมทแอมเฟตามีนในเส้นผมด้วยวิธี gas chromatography-mass spectrometry ก่อนเข้าบำบัดและหลังจากบำบัดครบ 3 เดือน
ผล: กลุ่มทดลองมีการลดการเสพซ้ำใน 3 เดือน (ร้อยละ 91.3) มากกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 9.5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (χ2 = 29.427, p < .001) กลุ่มทดลองมีการลดลงของปริมาณมทแอมเฟตามีนในเส้นผมใน 3 เดือน (-16.7ng/mg , SD = 15.2) มากกว่ากลุ่มควบคุม (16.0 ng/mg, SD = 15.1) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(t = -7.154, p < .001)
(t = -7.154, p < .001)
สรุป: การบำบัด SOS สามารถลดการเสพซ้ำในผู้ป่วยโรคจิตระยะแรกที่มีปัญหาการเสพติดเมทแอมเฟตามีน โดยควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อขยายผลในการประยุกต์ใช้ในบริบทอื่น ๆ
ที่มา
วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปี 2565, April-June
ปีที่: 30 ฉบับที่ 2 หน้า 87-99
คำสำคัญ
ผู้ป่วยโรคจิต, methamphetamine use disorders, patients with psychosis, start over and survive (SOS), การบำบัด start over and survive (SOS), ปัญหาการใช้สารเสพติดเมทแอมเฟตามีน