คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งตับที่เข้ารับการรักษด้วยวิธีฉีดยาเคมีบำบัดเข้ากอนมะเร็งตับ : การศึกษาไปข้างหน้าระยะยาว
สุธิสา เต็มทับ*, กิตติกร นิลมานัต, รุ่งทิพย์ อุดมวิเศษสันต์, กีรติ หงษ์สกุลโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ
ผู้ป่วยมะเร็งตับที่เข้ารับการรักษาด้วยวิธีฉีดยาเคมีบําบัดเฉพาะที่ผ่านทางหลอดเลือดแดงเข้าสู่ตับในบริเวณที่มีก้อนมะเร็งโดยตรง (transarterial chemoenibolization: TACE) มีคุณภาพชีวิตในแต่ละช่วงเวลาแตกต่างกันโดยมีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกตัวบุคคล การศึกษาเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งตับที่เข้ารับการรักษาด้วยวิธี TACE 1-3 ครั้ง และ 4-5 ครั้ง ณ โรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ ระหว่างเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2560 - มิถุนายน พ.ศ. 2562 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งตับจำนวน 65 ราย ที่เข้ารับการรักษา ด้วยวิธี TACE 293 ครั้ง โดยเก็บข้อมูลต่อเนื่อง 6 ช่วงเวลา คือ ก่อนเข้ารับการรักษาด้วย วิธี TACEและหลังเข้ารับการรักษาด้วยวิธี TACE ครั้งที่ 1 ถึง 5 ใช้เครื่องมือประเมินคุณภาพ ชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งแห่งสหภาพยุโรป ร่วมกับแบบประเมินคุณภาพชีวิตอาการที่พบบ่อย ในผู้ป่วยมะเร็งตับ ที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค 0.79 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที่คู่ และสถิติเชิงพรรณนา ผลการ ศึกษาพบว่า คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยมะเร็งตับที่เข้ารับการรักษาด้วยวิธี TACE 1-3 ครั้ง และ 4-5 ครั้ง อยู่ในระดับดี และสูงกว่าก่อนการรักษา เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย คุณภาพชีวิตโดยรวมพบว่าผู้ป่วยมะเร็งตับที่เข้ารับการรักษาด้วยวิธี TACE 1-3 ครั้ง และ 4-5 ครั้ง มีคุณภาพชีวิตโดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ผลการศึกษานี้ แสดงถึงการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับด้วยวิธี TACEในระยะยาวสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต โดยรวมของผู้ป่วยได้ แม้ว่าจะมีผลกระทบกับคุณภาพชีวิตในทุกมิติของผู้ป่วย
ที่มา
Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice ปี 2565, January - June
ปีที่: 9 ฉบับที่ 1 หน้า 71-87
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, คุณภาพชี่วิต, hepatocellular carcinoma patient, transcatheter arterial chemotherapy embolization, ผู้ป่วยมะเร็งตับ, การรักษาด้วยเคมีบำบัดเฉพาะที่