ประสิทธิผลของการทำ Fascia Iliaca Block ด้วยเทคนิคอัลตราซาวด์เพื่อลดความปวดหลังผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกบริเวณข้อสะโพกหัก โรงพยาบาลสกลนคร
จิตรภัทรา งันลาโสม*, ภทรดนัย วรรธนะสาร, วรางคณา ดิษเจริญ
กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร
บทคัดย่อ
ปัญหากระดูกบริเวณข้อสะโพกหักพบได้บ่อยในผู้ป่วยสูงอายุและมีโอกาสเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนได้ การ จัดการความปวดที่ไม่มีประสิทธิภาพส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ยากลุ่ม Opioids และยากลุ่ม NSIADs ถูกเลือกนำมาใช้ลดความปวดหลังการผ่าตัด แต่มักพบผลข้างเคียงในผู้สูงอายุ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประสิทธิผลของการทำ Fascia iliaca block ในการช่วยลดความปวด และลดการใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม Opioids หลังการผ่าตัดกระดูกบริเวณข้อสะโพกหักในผู้ป่วยสูงอายุ โดยทำการศึกษาแบบ randomized controlled trial ใน ผู้ป่วยอายุ 60-85 ปี กระดูกบริเวณสะโพกหักและเข้ารับการผ่าตัด จำนวน 32 ราย จากการเก็บข้อมูล มีกลุ่มตัวอย่าง ออกจากงานวิจัย 4 ราย จึงเหลือ 28 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ทำ Fascia iliaca block 14 ราย และกลุ่มควบคุม 14 ราย
ผลการวิจัยพบว่า การทำ Fascia iliaca block สามารถลดความปวดได้โดยประเมินจาก numerical rating Scale ทั้งขณะพักและเคลื่อนไหวที่ 12 และ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value <0.001) และ ปริมาณการใช้ยา Morphine ทั้งหมดใน 12 ชั่วโมง ในกลุ่มที่ทำ Fascia iliaca block มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.29 +2.59 มิลลิกรัม ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ7.79 + 4.06 มิลลิกรัม (p-value < 0.001) และปริมาณการใช้ ยา Morphine ทั้งหมดใน 24 ชั่วโมง ในกลุ่มที่ทำ Fascia iliaca block มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.14 + 3.01 มิลลิกรัม ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.79 + 5.77 มิลลิกรัม (p-value < 0.001) โดยสรุป การทำ Fascia iliaca block สามารถลดความปวดและการใช้ยา Morphine ในผู้ป่วยสูงอายุกระดูกบริเวณข้อสะโพกหักที่ 12 และ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
 
ที่มา
วารสารโรงพยาบาลสกลนคร ปี 2565, May-Sugust ปีที่: 25 ฉบับที่ 2 หน้า 1-13
คำสำคัญ
ความปวดหลังผ่าตัด, Fascia iliaca block, Geriatric hip fracture, Post–operative pain, กระดูกบริเวณข้อสะโพกหักในผู้ป่วยสูงอายุ