ผลของโปรแกรมการทำผักสวนครัวเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานความต้องการของผู้สูงอายุ
พิทักษ์พงศ์ ปันต๊ะ, นิภาพร อภิสิทธิ์วาสนา*, ประภาส ธนะ, กมลพร ไตรจินดา, คัชชญากร สองฐิติธนา, Tanida Malaวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
บทนำ : ปัจจุบันผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุลดลงจากปัจจัยหลายประการการทำสวนครัวถือเป็นกิจกรรมที่ช่วยรักษาและฟื้นฟูร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุในชุมชนได้
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการทำผักสวนครัวในการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานความต้องการของผู้สูงอายุ
ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยเปรียบเทียบสองกลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วัด 2 ครั้ง ก่อนเริ่มกิจกรรม สัปดาห์ที่ 8 หลังการทำกิจกรรมเสร็จสิ้น กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ที่มีอายุระหว่าง 60-80 ปี ที่อาศัยอยู่ในอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน จำ นวน 108 คน ผู้วิจัยสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เพื่อคัดเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 54 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมทำผักสวนครัว (Home grown vegetable, HGV.) ส่วนกลุ่มควบคุมจะใช้ชีวิตตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลและแบบวัดคุณภาพชีวิตฉบับย่อ ชุดภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา, independent sample t–test
ผลการวิจัย: ค่าคะแนนระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุหลังสิ้นสุดโปรแกรม พบว่า ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 3.282, p-value <0.001 ) โดยกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมของระดับคุณภาพชีวิตสูงกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 96.04, 91.33) เมื่อนำกลุ่มทดลองมาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตรายด้าน พบว่า หลังสิ้นสุดโปรแกรมระดับคะแนนคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นทั้ง 4 ด้าน
ที่มา
Journal of Health and Nursing Research ปี 2565, May-August
ปีที่: 38 ฉบับที่ 2 หน้า 175-186
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, elderly, ผู้สูงอายุ, คุณภาพชี่วิต, Home Grown Vegetable, โปรแกรมผักสวนครัว