การเปรียบเทียบผลของการฝึกเดิน ระหว่างการฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ฝึกเดินกับการฝึกเดินด้วยการกายภาพบำบัดแบบดั้งเดิมในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
มณฑิชา ม่วงเงิน*, บุษกร โลหารชุน, ชุติภา วรฤทธานนท์, ณัฐชา ศัตรูพินาศ, ภคอร สายพันธ์, สาริณี แก้วสว่างSirindhorn National Medical Rehabilitation Institute, Department of Medical Services, Ministry of Public Health, Thailand
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกเดินด้วยเครื่องหุ่นยนต์ฝึกเดินกับการฝึกเดินด้วยการกายภาพบำบัดแบบดั้งเดิมในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มเปรียบเทียบ ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรกอายุ 18-75 ปี มีอาการของโรคมากกว่า 1 เดือนแต่ไม่เกิน 1 ปี สามารถเดินได้โดยที่ได้คะแนน Functional Ambulatory Category; FAC >2 อาสาสมัครถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ทั้งสองกลุ่มได้รับการฝึกการออกกำลังกายพื้นฐาน เป็นเวลา 30 นาที จากนั้นกลุ่มทดลองได้รับการฝึกเดินบนเครื่องหุ่นยนต์ฝึกเดินเป็นเวลา 30 นาที กลุ่มควบคุมจะได้รับการฝึกเดินบนทางราบโดยการควบคุมของนักกายภาพบำบัดเป็นเวลา 30 นาที ฝึกด้วยความถี่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ รวม 12 ครั้ง ใช้สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนาและเปรียบ-เทียบความแตกต่างของข้อมูลระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Independent t-test และ Mann Whitney U test ผลการศึกษาพบอาสาสมัครจำนวน 62 คนที่เข้าร่วมครบ 4 สัปดาห์ (กลุ่มละ 31 คน) หลังฝึกพบว่า ตัววัดผลหลัก คือ ความเร็วในการเดิน และตัววัดผลรอง คือ ระดับการทรงตัวโดยแบบทดสอบ Berg balance scale (BBS) ระดับการฟื้นตัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยแบบทดสอบ National Institute of Health Stroke Scale, Thai version (NIHSS-T) และระดับความสามารถในการเดิน (Functional Ambulatory Category: FAC) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ
(p>0.05) จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ระหว่างการฝึกเดินด้วยเครื่องหุ่นยนต์ฝึกเดินกับการฝึกเดินด้วยการกายภาพบำบัดแบบดั้งเดิมมีผลเปลี่ยนแปลงความเร็วในการเดิน การทรงตัวและความสามารถในการเดินได้ไม่ต่างกัน
(p>0.05) จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ระหว่างการฝึกเดินด้วยเครื่องหุ่นยนต์ฝึกเดินกับการฝึกเดินด้วยการกายภาพบำบัดแบบดั้งเดิมมีผลเปลี่ยนแปลงความเร็วในการเดิน การทรงตัวและความสามารถในการเดินได้ไม่ต่างกัน
ที่มา
วารสารวิชาการสาธารณสุข ปี 2565, May-June
ปีที่: 31 ฉบับที่ Suppl 1 หน้า S107-S116
คำสำคัญ
Rehabilitation, การฟื้นฟูสมรรถภาพ, โรคหลอดเลือดสมอง, การฝึกเดิน, gait training, การฟืนฟูสมรรถภาพ, robotic-assisted gait training, การฝึกเดินด้วยเครื่องหุ่นยนต์ฝึกเดิน