การบาดเจ็บของเส้นประสาท Recurrent Laryngeal ในการผ่าตัดไทรอยด์ด้วยเทคนิคแบบหาเส้นประสาทเปรียบเทียบกับเทคนิคไม่หาเส้นประสาท
ปนัดดา ช่วยแก้วกลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
บทคัดย่อ
การผ่าตัดไทรอยด์สามารถพบการบาดเจ็บของเส้นประสาทกล่องเสียงได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอุบัติการณ์และความเสี่ยงในการเกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทกล่องเสียงเปรียบเทียบระหว่างการผ่าตัดไทรอยด์ด้วยเทคนิคการไม่ระบุเส้นประสาทกับเทคนิคระบุเส้นประสาท ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ คือ การทดลองแบบสุ่ม มีผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งสิ้น 140 ราย ผลลัพธ์หลักที่สนใจ คือ ความเสี่ยงในการเกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทกล่องเสียงจากการผ่าตัดไทรอยด์ด้วยสองเทคนิคดังกล่าว ผลการวิจัยพบว่า การผ่าตัดไทรอยด์ด้วยเทคนิคการไม่ระบุเส้นประสาทเปรียบเทียบกับเทคนิคระบุเส้นประสาท มีอุบัติการณ์ร้อยละ 10.00 และ ร้อยละ 8.57 ตามลำดับ และการผ่าตัดไทรอยด์ด้วยเทคนิคการไม่ระบุเส้นประสาทมีความเสี่ยงในการเกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทกล่องเสียงไม่แตกต่างจากการผ่าตัดไทรอยด์โดยใช้เทคนิคระบุเส้นประสาท (RR=1.17, 95%CI 0.41-3.30)
ที่มา
วารสารวิชาการสาธารณสุข ปี 2565, May-June
ปีที่: 31 ฉบับที่ Suppl 1 หน้า S155-S161
คำสำคัญ
hoarseness, เสียงแหบ, Thyroidectomy, การผ่าตัดไทรอยด์, recurrent laryngeal nerve injury, capsular thyroidectomy, การบาดเจ็บของเส้นประสาทเส้นเสียง, เทคนิคการผ่าตัดไทรอยด์แบบ capsular