ประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของข้อไหล่ร่วมกับการรักษาทางกายภาพบำบัดแบบเดิมกับการรักษาทางกายภาพบำบัดแบบเดิมในผู้ป่วยข้อไหล่ติดของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
มนัญญา สุขทอง
กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระพุทธชินราช พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
บทคัดย่อ
ทารกแรกเกิดทุกคนได้รับความเจ็บปวดจากหัตถการทางการแพทย์ หากไม่ได้รับการจัดการความเจ็บปวดที่เหมาะสมอาจส่งผลกระทบระยะยาวต่อทารก และยังสร้างความกังวลให้แก่ผู้ปกครองการศึกษาแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มเปรียบเทียบครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้นมแม่และสารละลายน้ำตาลซูโครสในการลดความเจ็บปวดจากการเจาะเลือด ในทารกแรกเกิดสุขภาพดีในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลกระหว่างวันที่  1  มิถุนายนพ.ศ. 2562 ถึง 30 เมษายนพ.ศ. 2563 ซึ่งมีทารกแรกเกิดที่ได้รับการเจาะเลือด 108 คนแบ่งเป็น 2 กลุ่มกลุ่มละ 54 คน พบว่าทารกกลุ่มที่ได้รับนมแม่และสารละลายน้ำตาลซูโครสมีค่ามัธยฐาน (Q1, Q3) ของคะแนนความเจ็บปวดของทารกขณะเจาะเลือดเท่ากับ 6 (6, 7) คะแนนและ 3.5 (2, 6) คะแนนตามลำดับ (p < 0.001) หลังเจาะเลือด 1 นาทีเท่ากับ 3 (0, 6)คะแนนและ 0 (0, 2) คะแนนตามลำดับ (p < 0.001) อีกทั้งพบว่าทารกกลุ่มที่ได้รับนมแม่และสารละลายน้ำตาลซูโครสมีค่ามัธยฐาน (Q1, Q3) ของระยะเวลาการร้องไห้หลังเจาะเลือดเท่ากับ 49.5 (22.6, 87.0) วินาทีและ 0 (0, 22.8) วินาทีตามลำดับ  (p  <  0.001)  สรุปได้ว่าสารละลายน้ำตาลซูโครสมีประสิทธิผลในการลดความเจ็บปวดจากการเจาะหลอดเลือดดําในทารกแรกเกิดสุขภาพดีมากกว่านมแม่
 
ที่มา
พุทธชินราชเวชสาร ปี 2565, May-August ปีที่: 39 ฉบับที่ 2 หน้า 193-202
คำสำคัญ
pain, Analgesia, ความเจ็บปวด, Breast milk, ทารกแรกเกิด, neonate, นมแม่, sucrose solution, ยาลดความเจ็บปวด, สารละลายน้ำตาลซูโครส