ประสิทธิผลของการรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบนระหว่างเทคนิคอัลตราซาวด์แบบพัลซ์และแบบคลื่นต่อเนื่อง
สาธนีย์ พันธ์กนกพงศ์กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
บทคัดย่อ
อาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดเป็นกลุ่มอาการปวดในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่พบได้บ่อย
และเป็นสาเหตุของอาการปวดเรื้อรัง การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อทราพีเซียส ส่วนบนด้วยอัลตราซาวด์ระหว่างเทคนิคแบบพัลซ์และแบบคลื่นต่อเนื่องที่มารักษาที่งานกายภาพบําบัดโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึงเมษายน พ.ศ. 2565 จำนวน
68 คนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยการจับสลากกลุ่มละ 34 คน ประเมินระดับคะแนนความปวดและดัชนีวัด
ความบกพร่องความสามารถของคอก่อนเริ่มรักษา หลังการรักษาครั้งที่ 5 และหลังการรักษาครั้งที่ 10 เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มด้วยการทดสอบ chi-square, independent t และ paired tกำหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 พบว่าเพศอายุดัชนีมวลกายอาชีพระดับการศึกษาอาการแสดงระดับคะแนนความปวดและดัชนีวัดความบกพร่องความสามารถของคอก่อนรักษาของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ส่วนหลังการรักษา พบว่าระดับคะแนนความปวดและดัชนีวัดความบกพร่องความสามารถของคอลดลงทั้งสองกลุ่มอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติแตก ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม สรุปได้ว่าการรักษาด้วย
อัลตราซาวด์ระหว่างเทคนิคอัลตราซาวด์แบบพัลซ์และแบบคลื่นต่อเนื่องสามารถลดระดับความปวดและลดคะแนนดัชนีวัดความบกพร่องความสามารถของคอไม่แตกต่างกัน
และเป็นสาเหตุของอาการปวดเรื้อรัง การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อทราพีเซียส ส่วนบนด้วยอัลตราซาวด์ระหว่างเทคนิคแบบพัลซ์และแบบคลื่นต่อเนื่องที่มารักษาที่งานกายภาพบําบัดโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึงเมษายน พ.ศ. 2565 จำนวน
68 คนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยการจับสลากกลุ่มละ 34 คน ประเมินระดับคะแนนความปวดและดัชนีวัด
ความบกพร่องความสามารถของคอก่อนเริ่มรักษา หลังการรักษาครั้งที่ 5 และหลังการรักษาครั้งที่ 10 เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มด้วยการทดสอบ chi-square, independent t และ paired tกำหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 พบว่าเพศอายุดัชนีมวลกายอาชีพระดับการศึกษาอาการแสดงระดับคะแนนความปวดและดัชนีวัดความบกพร่องความสามารถของคอก่อนรักษาของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ส่วนหลังการรักษา พบว่าระดับคะแนนความปวดและดัชนีวัดความบกพร่องความสามารถของคอลดลงทั้งสองกลุ่มอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติแตก ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม สรุปได้ว่าการรักษาด้วย
อัลตราซาวด์ระหว่างเทคนิคอัลตราซาวด์แบบพัลซ์และแบบคลื่นต่อเนื่องสามารถลดระดับความปวดและลดคะแนนดัชนีวัดความบกพร่องความสามารถของคอไม่แตกต่างกัน
ที่มา
พุทธชินราชเวชสาร ปี 2565, May-August
ปีที่: 39 ฉบับที่ 2 หน้า 235-249
คำสำคัญ
Myofascial pain syndrome, กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด, Ultrasound, อัลตราซาวด์, pulsed ultrasound (PUS), อัลตราซาวด์แบบพัลซ์