การศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มเปรียบเทียบแบบอำพรางสองฝ่ายของประสิทธิผลและความปลอดภัย ของซิงค์ซัลเฟตแบบรับประทานในการลดอาการคันในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย
ฝันฝ้าย สมเกียรติ*, อนันต์ เชื้อสุวรรณหน่วยโรคไต กองอายุรกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
บทคัดย่อ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา : อาการคันในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเป็นหนึ่งในอาการที่สร้างความทุกข์ทรมานและทำลายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย มีรายงานก่อนหน้านี้ว่า อาการคันในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่มีความสัมพันธ์กับยีนส์ทีควบคุมการสร้างแคลเซียมไอออนแชนเนล และอาจถูกยับยั้งโดยสังกะสี นอกจากนี้สังกะสีอาจสามารถยับยั้งสารก่อความคันฮิสตามีนได้ มีการศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มเปรียบเทียบโดยให้ซิงค์ซัลเฟตรับประทานเทียบกับยาหลอกในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกไต พบว่าสามารถลดอาการคันได้อย่างมีนัยสําคัญ โดยไม่เกิดผลข้างเคียงร้ายแรง อย่างไรก็ตามการศึกษาดังกล่าวยังไม่มีการวัดระดับปริมาณสังกะสีหรือระบุความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสังกะสีและการลดระดับอาการคันที่ชัดเจน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันประสิทธิผลของการให้สังกะสีรูปแบบซิงค์ซัลเฟตแบบรับประทานในการลดอาการคันในผู้ป่วยที่ได้รับการบําบัดทดแทนไตและหาความสัมพันธ์ของระดับสังกะสีกับอาการคัน ประสิทธิผลของการให้ซิงค์ซัลเฟตในการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย รวมถึงผลข้างเคียงของการใช้ซิงค์ซัลเฟต
ระเบียบวิธีวิจัย : ทำการสุ่มให้ซิงค์ซัลเฟตรับประทานวันละ 440 มิลลิกรัม หรือยาหลอกเป็นเวลา 12 สัปดาห์ และหยุดให้เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ทำการประเมินระดับความรุนแรงของอาการคันโดยใช้มาตรวัดความคันด้วยสายตาและประเมินคุณภาพชีวิตโดย Uremic Pruritus in Dialysis Patients scale ทุก 4 สัปดาห์ โดยให้การลดลงของค่ามาตรวัดความคันด้วยสายตาตั้งแต่ 3 เป็นต้นไปถือว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยจำนวน 55 ราย ได้รับการสุ่มได้รับซิงค์ซัลเฟตจำนวน 28 ราย และยาหลอกจำนวน 27 ราย พบว่าทั้งสองกลุ่มมีลักษณะพื้นฐานใกล้เคียงกัน พบว่าสองกลุ่มมีระดับค่ามาตรวัดความคันด้วยสายตา
(7.00+1.90 และ 5.63+2.09) และระดับสังกะสี (58.50+9.46 และ 63.00+7.15 มคก./ดล.) ในช่วงเริ่มต้นของการศึกษาแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างในผลต่างค่าเฉลี่ยของระดับ
ค่ามาตรวัดความความคันด้วยสายตาเทียบกับระดับเริมต้นที่ 4 สัปดาห์ (1.41; 95% confidence interval (CI), 0.095-2.732; p=0.036) แต่เมื่อติดตามการรักษาจนครบ 12 สัปดาห์และ 16 สัปดาห์ พบว่า ไม่มี
ความแตกต่างในการลดระดับค่ามาตรวัดความคันด้วยสายตาเทียบกับระดับเริ่มต้น เมื่อเทียบกับยาหลอก
(1.131; 95%CI, -0.423-2.684; p=0.150) และ (1.505; 95%CI, -0.142-3,152; p=0.072) ตามลำดับ
ไม่สามารถระบุความสัมพันธ์ระหว่างระดับสังกะสีหรือการเปลี่ยนแปลงของระดับสังกะสีในเลือด กับระดับค่ามาตรวัดความคันด้วยสายตา การให้ซิงค์ซัลเฟตแบบรับประทานขนาดนี้ ไม่มีความแตกต่างในการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเมื่อเทียบกับยาหลอก และไม่พบความแตกต่างในแง่ของอาการข้างเคียงระหว่างทั้งสองกลุ่ม
(7.00+1.90 และ 5.63+2.09) และระดับสังกะสี (58.50+9.46 และ 63.00+7.15 มคก./ดล.) ในช่วงเริ่มต้นของการศึกษาแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างในผลต่างค่าเฉลี่ยของระดับ
ค่ามาตรวัดความความคันด้วยสายตาเทียบกับระดับเริมต้นที่ 4 สัปดาห์ (1.41; 95% confidence interval (CI), 0.095-2.732; p=0.036) แต่เมื่อติดตามการรักษาจนครบ 12 สัปดาห์และ 16 สัปดาห์ พบว่า ไม่มี
ความแตกต่างในการลดระดับค่ามาตรวัดความคันด้วยสายตาเทียบกับระดับเริ่มต้น เมื่อเทียบกับยาหลอก
(1.131; 95%CI, -0.423-2.684; p=0.150) และ (1.505; 95%CI, -0.142-3,152; p=0.072) ตามลำดับ
ไม่สามารถระบุความสัมพันธ์ระหว่างระดับสังกะสีหรือการเปลี่ยนแปลงของระดับสังกะสีในเลือด กับระดับค่ามาตรวัดความคันด้วยสายตา การให้ซิงค์ซัลเฟตแบบรับประทานขนาดนี้ ไม่มีความแตกต่างในการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเมื่อเทียบกับยาหลอก และไม่พบความแตกต่างในแง่ของอาการข้างเคียงระหว่างทั้งสองกลุ่ม
สรุป : การศึกษานี้ไม่พบความแตกต่างระหว่างการให้ซิงค์ซัลเฟตรับประทาน หรือยาหลอก ในการลดระดับความรุนแรงของอาการคันในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย การศึกษาในอนาคตอาจต้องการกลุ่มผู้ป่วยในการศึกษาทีมากขึ้น และการติดตามระดับสังกะสีในเลือดที่ 4 สัปดาห์
ที่มา
แพทยสารทหารอากาศ ปี 2565, May-August
ปีที่: 68 ฉบับที่ 2 หน้า 17-31
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, pruritus, อาการคัน, คุณภาพชี่วิต, Zinc sulfate, end stage renal disease, โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย, ซิงค์ซัลเฟต