ความคุ้มค่าของยาชีววัตถุที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึดชาวไทย
สิกขวัฒน์ นักร้อง, ปิ่น อังวิทิต, อังคณา ขิมเล็ก, ผกามาศ ไมตรีมิตร, สุรชัย โกติรัมย์*วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000 อีเมลล์ [email protected]
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความคุ้มค่าและผลกระทบงบประมาณของยาชีววัตถุ etanercept, golimumab, infliximab และ secukinumab ในข้อบ่งใช้เพื่อการรักษาโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด วิธีดำเนินการวิจัย ประเมินความคุ้มค่าด้วยการวิเคราะห์ต้นทุน-อรรถประโยชน์(Cost-Utility Analysis; CUA) โดยใช้แบบจำลอง Decision tree ร่วมกับ Markov จำลองการดำเนินของโรค
ข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึดในผู้ป่วยจนสิ้นอายุขัยด้วยโปรแกรมคำนวณ Microsoft Excel เพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางเศรษฐศาสตร์และสุขภาพของทางเลือกใหม่ซึ่งเป็นการรักษาด้วยยาชีววัตถุ(biological agents) หลังจากที่ผู้ป่วยล้มเหลวจากการใช้ยาลดอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(NSAIDs) และยาต้านรูมาติกที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค(DMARDs) แล้วเปรียบเทียบกับทางเลือกของการรักษามาตรฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการรักษาด้วยกายภาพบำบัด ผลการประเมินนำเสนอในรูปของค่าอัตราส่วนต้นทุน-ประสิทธิผลส่วนเพิ่ม(incremental cost-effectiveness ratio; ICER) ในหน่วยบาทต่อปีสุขภาวะที่ได้เพิ่มขึ้น(baht/quality-adjusted life years; QALY gained) ผลการศึกษา: ผลการศึกษาในการวิเคราะห์ต้นทุน-อรรถประโยชน์ในมุมมองทางสังคมพบว่ายา secukinumab คล้ายคลึง(Scapho®), infliximab คล้ายคลึง(Remsima®), etanercept (Enbrel®), secukinumab ต้นแบบ(Cosentyx®),infliximab ต้นแบบ(Remicade®), และgolimumab (Symponi®)มีค่า ICER เทียบกับการรักษามาตรฐานเท่ากับ 217,237; 285,902; 434,816;438,755; 471,172 และ 502,557บาท ต่อ ปีสุขภาวะที่ได้เพิ่มขึ้นตามลำดับ และมีภาระงบประมาณที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 5 ปี จากการให้ยา secukinumab คล้ายคลึงรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้เท่ากับ 252ล้านบาทสรุปผล: โดยสรุปแล้วจากราคา ณ ปัจจุบันของยาชีววัตถุ 4 ชนิด(6 ผลิตภัณฑ์) ที่นำมาประเมินพบว่า ไม่มียาชีววัตถุใดที่มีความคุ้มค่าในบริบทของประเทศไทยจากเกณฑ์ความเต็มใจจ่าย 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะที่ได้เพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตาม การพิจารณาให้ยาชีววัตถุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถใช้คุณค่าของมิติด้านสังคมและจริยธรรมของการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพประกอบการตัดสินใจได้
ข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึดในผู้ป่วยจนสิ้นอายุขัยด้วยโปรแกรมคำนวณ Microsoft Excel เพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางเศรษฐศาสตร์และสุขภาพของทางเลือกใหม่ซึ่งเป็นการรักษาด้วยยาชีววัตถุ(biological agents) หลังจากที่ผู้ป่วยล้มเหลวจากการใช้ยาลดอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(NSAIDs) และยาต้านรูมาติกที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค(DMARDs) แล้วเปรียบเทียบกับทางเลือกของการรักษามาตรฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการรักษาด้วยกายภาพบำบัด ผลการประเมินนำเสนอในรูปของค่าอัตราส่วนต้นทุน-ประสิทธิผลส่วนเพิ่ม(incremental cost-effectiveness ratio; ICER) ในหน่วยบาทต่อปีสุขภาวะที่ได้เพิ่มขึ้น(baht/quality-adjusted life years; QALY gained) ผลการศึกษา: ผลการศึกษาในการวิเคราะห์ต้นทุน-อรรถประโยชน์ในมุมมองทางสังคมพบว่ายา secukinumab คล้ายคลึง(Scapho®), infliximab คล้ายคลึง(Remsima®), etanercept (Enbrel®), secukinumab ต้นแบบ(Cosentyx®),infliximab ต้นแบบ(Remicade®), และgolimumab (Symponi®)มีค่า ICER เทียบกับการรักษามาตรฐานเท่ากับ 217,237; 285,902; 434,816;438,755; 471,172 และ 502,557บาท ต่อ ปีสุขภาวะที่ได้เพิ่มขึ้นตามลำดับ และมีภาระงบประมาณที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 5 ปี จากการให้ยา secukinumab คล้ายคลึงรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้เท่ากับ 252ล้านบาทสรุปผล: โดยสรุปแล้วจากราคา ณ ปัจจุบันของยาชีววัตถุ 4 ชนิด(6 ผลิตภัณฑ์) ที่นำมาประเมินพบว่า ไม่มียาชีววัตถุใดที่มีความคุ้มค่าในบริบทของประเทศไทยจากเกณฑ์ความเต็มใจจ่าย 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะที่ได้เพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตาม การพิจารณาให้ยาชีววัตถุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถใช้คุณค่าของมิติด้านสังคมและจริยธรรมของการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพประกอบการตัดสินใจได้
ที่มา
วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน ปี 2565, July-September
ปีที่: 18 ฉบับที่ 3 หน้า 13-28
คำสำคัญ
Cost-utility analysis, Economic evaluation, Ankylosing Spondylitis, biological agents, โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด, ยาชีววัตถุ, การวิเคราะห์ต้นทุน-อรรถประโยชน์, การประเมินความคุ้มค่า