การเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดในการฉีดสเตียรอยด์เข้าหูชั้นกลางระหว่างการใช้ 10% Lidocaine spray 10 และ 20 นาที
วิริยา แสงเจริญ, สุวิชา แก้วศิริ อิศราดิสัยกุล*, จารึก หาญประเสริฐพงษ์, ศณัฐธร เชาวน์ศิลป์, ภาสกร สวัสดิรักษ์
ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เปรียบเทียบผลการใช้ 10% Lidocaine spray ระยะเวลา 10 นาทีและ 20 นาที ก่อนการฉีดสเตียรอยด์เข้าหูชั้นกลางในผู้ป่วยประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันแบบไม่ทราบสาเหตุ
วัสดุและวิธีการ : ศึกษาแบบการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มย่อย ณ แผนกผู้ป่วยนอกโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
ผลการศึกษา : มีผู้ป่วย  32 ราย ค่า p-value ระหว่างสองกลุ่ม ของระดับความเจ็บปวด 11-point numeric rating scales (NRS-11) รวมของเยื่อแก้วหูทุกตำแหน่ง 1) หลังดูด 10% Lidocaine ออกจากช่องหู = 0.61 2) ขณะแทงเข็มผ่านเยื่อแก้วหู = 0.86 3) เมื่อดูดยาชาออกแล้ว 30 นาที = 0.04 ระดับความพึงพอใจต่อการทำหัตถการโดยรวม ร้อยละ 81 อยู่ในระดับดีถึงดีมาก ค่า p-value ของผลข้างเคียง ระหว่างสองกลุ่ม = 0.39
สรุป : ระดับความเจ็บปวดหลังหยอดยาครบเวลาและขณะแทงเข็มผ่านเยื่อแก้วหู ความพึงพอใจและผลข้างเคียงของการใช้ยาชาทั้งสองไม่ต่างกัน
 
ที่มา
วารสารหู คอ จมูก และใบหน้า ปี 2565, January-June ปีที่: 23 ฉบับที่ 1 หน้า 3-16
คำสำคัญ
Lidocaine, ลิโดเคน, ยาชาเฉพาะที่, Local anesthesia, การฉีดยาสเตียรอยด์ผ่านเยื่อแก้วหู, ระดับความเจ็บปวด, pain intensity, intratympanic steroid injection, Lidocaine Spray 10 or 20 minutes for IT injection