เปรียบเทียบคะแนนความปวด (Neonatal Infant Pain Scale : NIPS) ระหว่างวิธีดูดจุกหลอกกับให้สารละลายซูโครส 24% ทางปาก ขณะแทงเข็มให้สารน้้าทางหลอดเลือดด้าในทารกแรกเกิดหอผู้ป่วยเด็ก 2 โรงพยาบาลนครพนม
ฉันทนา พรมหัส*, อนัญญา สารีพร, ณภัทธิรา ปิยะพงศ์สกุลหอผู้ป่วยเด็ก 2 โรงพยาบาลนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม 48000
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนความปวด (Neonatal Infant Pain Scale : NIPS) ระหว่างวิธี ดูดจุกหลอกและให้สารละลายซูโครส 24%ทางปาก ขณะแทงเข็มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในทารกแรกเกิด
วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นงานวิจัยชนิด intervention Research รูปแบบ Randomized control trial ท าการศึกษาแบบ cross over design กลุ่มตัวอย่าง คือ ทารกแรกเกิดที่ได้รับการแทงเข็มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ที่รับบริการในหอผู้ป่วยเด็ก 2 โรงพยาบาลนครพนม ในระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2563 – 30 กันยายน 2563 วิธีการศึกษาคือ สุ่มเลือกวิธีการลดปวด โดยการเปิดซองปิดผนึก ก่อนแทงเข็มเข็มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับการดูดจุกหลอกเป็นวิธีลดค่าคะแนนความปวดในขณะแทงเข็มเข็มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ในครั้งแรก กลุ่มที่ 2 ได้รับการให้สารละลายซูโครส 24% ทางปากเป็นวิธีลด
ค่าคะแนนความปวดในขณะแทงเข็มเข็มให้ สารน้ำทางหลอดเลือดดำครั้งแรก และประเมินค่าคะแนนความปวดด้วย (NIPS) 2 ครั้ง วิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะ ทั่วไปของผู้ป่วยด้วยสถิติ t-test และ exact probability test วิเคราะห์ผลในการลดค่าคะแนนความปวดด้วยสถิติ Multi-variable regression รูปแบบ cross over design
ค่าคะแนนความปวดในขณะแทงเข็มเข็มให้ สารน้ำทางหลอดเลือดดำครั้งแรก และประเมินค่าคะแนนความปวดด้วย (NIPS) 2 ครั้ง วิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะ ทั่วไปของผู้ป่วยด้วยสถิติ t-test และ exact probability test วิเคราะห์ผลในการลดค่าคะแนนความปวดด้วยสถิติ Multi-variable regression รูปแบบ cross over design
ผลการศึกษา : ลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ตำแหน่งแทงเข็มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ชนิดของ สารละลาย ไม่แตกต่างกันแต่พบโรค neonatal jaundice ในกลุ่มที่1 จำนวน 5 รายเท่ากับ 33.3%
(p-value=0.042 ) มีค่าคะแนนความปวด (NIPS) ครั้งที่1 กลุ่มที่1 ค่าเท่ากับ 3±2.0 กลุ่มที่2 ค่าเท่ากับ 2.1±1.7 (p-value=0.338 ) ครั้งที่2 กลุ่มที่1 ค่าเท่ากับ 2.1±1.9 กลุ่มที่2 ค่าเท่ากับ 3±1.7 (p-value=0.096) แต่เมื่อ วิเคราะห์ด้วยรูปแบบ cross over design โดยใช้สถิติ Multi-variable regression ปรับอิทธิพลของตัวแปรกวน jaundice แล้วพบว่าการให้สารละลายซูโครส 24%ทางปากในครั้งที่ 1 ลดค่าคะแนนความปวดได้ดีกว่าวิธีดูด จุกหลอก (diff=1.4 p-value=0.030) แต่ไม่พบความแตกต่างในครั้งที่ 2 (diff.=0.03 p-value=0.937)
(p-value=0.042 ) มีค่าคะแนนความปวด (NIPS) ครั้งที่1 กลุ่มที่1 ค่าเท่ากับ 3±2.0 กลุ่มที่2 ค่าเท่ากับ 2.1±1.7 (p-value=0.338 ) ครั้งที่2 กลุ่มที่1 ค่าเท่ากับ 2.1±1.9 กลุ่มที่2 ค่าเท่ากับ 3±1.7 (p-value=0.096) แต่เมื่อ วิเคราะห์ด้วยรูปแบบ cross over design โดยใช้สถิติ Multi-variable regression ปรับอิทธิพลของตัวแปรกวน jaundice แล้วพบว่าการให้สารละลายซูโครส 24%ทางปากในครั้งที่ 1 ลดค่าคะแนนความปวดได้ดีกว่าวิธีดูด จุกหลอก (diff=1.4 p-value=0.030) แต่ไม่พบความแตกต่างในครั้งที่ 2 (diff.=0.03 p-value=0.937)
ข้อสรุป : การลดความปวดในทารกที่ต้องแทงเข็มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำครั้งแรก ควรให้สารละลาย ซูโครส 24%ทางปาก ในครั้งต่อไปอาจพิจารณาเลือกวิธีการลดปวดตามความเหมาะสม
ที่มา
Nakhonphanom Hospital Journal ปี 2565, January-April
ปีที่: 9 ฉบับที่ 1 หน้า 1-9
คำสำคัญ
intravenous needle aspiration, suck the pacifier, 24% sucrose solution for oral, pain scores (Neonatal Infant Pain Scale: NIPS), การแทงเข็มให้สารน้าทางหลอดเลือดดำ, การดูดจุกหลอก, การให้สารละลายซูโครส 24% ทางปาก, ค่าคะแนนความปวด