ประสิทธิผลของการบริหารยา Paclitaxel ช่วงชั่วโมงแรกในการลดอุบัติการณ์ภาวะภูมิไวเกินของผู้ป่วยโรคมะเร็งโรงพยาบาลอุตรดิตถ์
สายฤดี นาคสนอง
กลุ่มงานพยาบาล งานการพยาบาลตรวจรักษาพิเศษ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ เลขที่ 38 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000 อีเมล์ : [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เปรียบเทียบอัตราการเกิดภาวะภูมิไวเกินระหว่างการบริหารยา paclitaxel แบบเดิมกับแบบใหม่ด้วยวิธีลดอัตรา การหยดยาในชั่วโมงแรก
วิธีการศึกษา : ศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งที่รับยาเคมีบำบัด paclitaxel อายุ 18 ปีขึ้นไป โดยการคัดเลือกแบบสุ่ม ขนาดตัวอย่างกลุ่ม บริหารยาแบบเดิม เก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 2557 ถึง 2559 จำนวน 91 ราย กลุ่มบริหารยาแบบใหม่เก็บข้อมูลไปข้างหน้า ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2560 ถึงกรกฎาคม 2561 จำนวน 80 ราย รวมกลุ่มตัวอย่าง 171 ราย เครื่องมือรวบรวมข้อมูลได้แก่ เวชระเบียนผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และแบบบันทึกการเกิดภาวะภูมิไวเกิน วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐาน ลักษณะทางคลินิก ของการเกิดภาวะภูมิไวเกิน ช่วงเวลาที่เกิดและความรุนแรงในการเกิดภาวะภูมิไวเกิน สถิติที่ใช้ได้แก่ exact probability test และ independent t-test
ผลการศึกษา : การเกิดภาวะภูมิไวเกินระหว่างกลุ่มบริหารยาแบบใหม่ และกลุ่มบริหารยาแบบเก่า ด้วยการลดอัตราการหยด ยา Paclitaxel ใน 1 ชั่วโมงแรกพบว่าทั้ง 2 กลุ่มเกิดภาวะภูมิไวเกินทั้งหมดโดยช่วง 15 นาทีแรกของการให้ยา กลุ่มบริหารยา แบบใหม่เกิดภาวะภูมิไวเกินร้อยละ 50 ในขณะที่กลุ่มบริหารยาแบบเก่าพบร้อยละ 93.3 เมื่อเปรียบเทียบระดับความรุนแรง ของการเกิดพบว่า กลุ่มบริหารยาแบบใหม่มีระดับความรุนแรงสูงสุด grade 1 ในขณะที่กลุ่มบริหารยาแบบเก่า พบระดับความ รุนแรงสูงถึง grade 4 ส่วนผลกระทบของการเกิดภาวะภูมิไวเกินต่อการรักษาพบว่ากลุ่มบริหารยาแบบใหม่สามารถให้ยาครบ ตามแผนการรักษาได้ทั้งหมด ส่วนกลุ่มบริหารยาแบบเก่าไม่สามารถให้ยาต่อได้และจำเป็นต้องหยุดการรักษาร้อยละ 86.67 เมื่อพิจารณาถึงช่วงระยะเวลาที่เกิดภาวะภูมิไว ระดับความรุนแรงของการเกิด และผลกระทบต่อการรักษา ของกลุ่มบริหารยา แบบใหม่และกลุ่มบริหารยาแบบเก่า พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.016, p<0.002 และ p<0.002 ตามลำดับ
สรุปและข้อเสนอแนะ : กลุ่มบริหารยาแบบใหม่ด้วยวิธีลดอัตราการหยดยา paclitaxel ในชั่วโมงแรกเกิดภาวะภูมิไวเกิน น้อย กว่ากลุ่มบริหารยาแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผู้ป่วยทั้งหมดสามารถรับยาครบตามแผนการรักษา
 
ที่มา
Health Science Clinical Research ปี 2563, July-December ปีที่: 35 ฉบับที่ 2 หน้า 45-56
คำสำคัญ
Cancer, Paclitaxel, โรคมะเร็ง, Hypersensitivity reactions, ภาวะภูมิไวเกิน (HSRs), ยา Paclitaxel