การเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างยารูพาทาดีนและยาเลโวเซทิริซีนในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่มีอาการต่อเนื่อง
ณัฐิยา หาญประเสริฐพงษ์, จริยากุล วรินทร์รักษ์, สุปราณี ฟูอนันต์, นพมาศ โรจนเสถึยร, สุกิจ รุ่งอภินันท์, วรางคณา อาภรณ์ชยานนท์, มาลียา มโนรถ*ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ
จมูกอักเสบจากภูมิแพ้เป็นปัญหาสุขภาพทั่วโลกที่มีอัตราความชุกของโรคเพิ่มสูงขึ้น อาการของโรครบกวนการนอนหลับและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน การศึกษานี้ทำแบบไปข้างหน้า สุ่ม ปกปิดทางเดียว มีกลุ่มควบคุมเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการรักษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่ออาการคัดจมูกของยารูพาทาดีน ขนาด 10 มิลลิกรัม กับยาเลโวเซทิริซีน ขนาด 5 มิลลิกรัม ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ ในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่มีอาการต่อเนื่อง การประเมินทางคลินิกประกอบด้วยคะแนนรวมอาการทางจมูก คะแนนรวมอาการทางตา การตรวจนับเซลล์อักเสบจากเยื่อบุจมูก การวัดค่า peak nasal inspiratory flow (PNIF) และจำนวนผู้ที่ตอบสนองต่อการรักษาซึ่งเป็นผู้ที่มีคะแนนรวมอาการทางจมูกลดลงอย่างน้อยร้อยละ 50 หลังการรักษาติดต่อกัน 4 สัปดาห์ อาสาสมัครทั้งสองกลุ่มมีคะแนนรวมอาการทางจมูกและตาดีขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม สัดส่วนของผู้ที่ตอบสนองต่อการรักษามีค่าร้อยละ 50 และ 57.3 ในกลุ่มเลโวเซทิริซีนและกลุ่มรูพาทาดีนตามลำดับ เฉพาะกลุ่มเลโวเซทิริซีนเท่านั้นที่มีค่า PNIF
ดีขึ้นกว่าก่อนการรักษาอย่างมีนัยสําคัญ การตรวจนับเซลล์อักเสบจากเยื่อบุจมูก พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเซลล์อักเสบอย่างมีนัยสําคัญหลังการรักษา เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของ PNIF และเซลล์อักเสบจากเยื่อบุจมูกที่เปลี่ยนแปลงหลังรักษาของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน กลุ่มรูพาทาดีนใช้ยาช่วยบรรเทาอาการน้อยกว่ากลุ่มเลโวเซทิริซีนแต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยได้แก่ ง่วงนอนและเซื่องซึม โดยมีอัตราการเกิดในทั้งสองกลุ่มใกล้เคียงกัน กล่าวโดยสรุป ยารูพาทาดีน ขนาด 10 มิลลิกรัม มีประสิทธิผลเทียบเท่ากับยาเลโวเซทิริซีน ขนาด 5 มิลลิกรัม ในการควบคุมอาการภูมิแพ้รวมถึงอาการคัดจมูกในผู้ป่วยจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่มีอาการต่อเนื่อง
ดีขึ้นกว่าก่อนการรักษาอย่างมีนัยสําคัญ การตรวจนับเซลล์อักเสบจากเยื่อบุจมูก พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเซลล์อักเสบอย่างมีนัยสําคัญหลังการรักษา เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของ PNIF และเซลล์อักเสบจากเยื่อบุจมูกที่เปลี่ยนแปลงหลังรักษาของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน กลุ่มรูพาทาดีนใช้ยาช่วยบรรเทาอาการน้อยกว่ากลุ่มเลโวเซทิริซีนแต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยได้แก่ ง่วงนอนและเซื่องซึม โดยมีอัตราการเกิดในทั้งสองกลุ่มใกล้เคียงกัน กล่าวโดยสรุป ยารูพาทาดีน ขนาด 10 มิลลิกรัม มีประสิทธิผลเทียบเท่ากับยาเลโวเซทิริซีน ขนาด 5 มิลลิกรัม ในการควบคุมอาการภูมิแพ้รวมถึงอาการคัดจมูกในผู้ป่วยจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่มีอาการต่อเนื่อง
ที่มา
วารสารเภสัชวิทยา ปี 2559, July-December
ปีที่: 38 ฉบับที่ 2 หน้า 17-29
คำสำคัญ
Levocetirizine, Persistent allergic rhinitis, rupatadine, เลโวเซทิริซีน, รูพาทาดีน, จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่มีอาการต่อเนื่อง