ผลฉับพลันของการฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้าต่ออาการปวดศีรษะในผู้ป่วยโรคไมเกรน
ปุณยภัสร์ ศิริธีราฐิติกุล*, ปุณยวีร์ คำไทยDepartment of Traditional Chinese Medicine, School of Public Health, University of Phayao, Mae Ka Subdistrict, Muang District, Phayao 56000, Thailand; Email: [email protected]
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) แบบปกปิด ทางเดียว (single-blinded) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลฉับพลันของการฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้าต่อระดับความ ปวดศีรษะในผู้ป่วยโรคไมเกรนขณะมีอาการปวดศีรษะไมเกรนกำเริบ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคไมเกรนที่มีอาการปวด ศีรษะไมเกรนกำเริบ จำนวน 46 ราย ถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 23 ราย และกลุ่มควบคุม 23 ราย โดยกลุ่มทดลองจะได้รับ การฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้า 30 นาที และกลุ่มควบคุมจะได้รับการฝังเข็มโดยไม่กระตุ้นเข็ม 30 นาที ผู้เข้าร่วม วิจัยทั้งหมดวัดระดับความปวดศีรษะโดยมาตรวัดระดับความปวด (visual analog pain scale: VAS) ทั้งก่อนและหลัง การรักษาทันที ผลการศึกษาพบว่า ทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของระดับความปวดศีรษะ ไมเกรนเปรียบเทียบกับก่อนและหลังการรักษาทันที (p < 0.01) และมีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม โดยพบค่าเฉลี่ย คะแนนระดับความปวดศีรษะไมเกรนของกลุ่มทดลองลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.006) สรุปได้ว่า การฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้าและการฝังเข็มโดยไม่กระตุ้นเข็มสามารถลดอาการปวดศีรษะไมเกรน ได้ในทันทีหลังการรักษา 30 นาที และการฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้าสามารถลดอาการปวดศีรษะไมเกรนขณะ ที่ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะไมเกรนกำเริบได้ดีกว่าการฝังเข็มโดยไม่กระตุ้นเข็ม ดังนั้นการฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้น ไฟฟ้าจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยไมเกรนที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนกำเริบ
ที่มา
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปี 2565, September-December
ปีที่: 20 ฉบับที่ 3 หน้า 449-458
คำสำคัญ
การแพทย์ทางเลือก, Alternative medicine, Electro-Acupuncture, migraine attack, traditional Chinese medicine, การฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้า, ปวดศีรษะไมเกรน, การแพทย์แผนจี