ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ทิพย์สุดา พรหมดนตรี, จินตนา ดำเกลี้ยง*, วิภา แซ่เซี้ย
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และ 2) ศึกษาปัจจัยทำนาย (สมรรถนะของหัวใจ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ กิจกรรมทางกายและการสนับสนุนทางสังคม) ต่อคุณภาพชีวิต
วิธีการ: กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 18-45 ปี ได้รับการวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จำนวน 90 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะสุขภาพ และข้อมูลเกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 2) แบบสอบถามกิจกรรมทางกาย 3) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติ และ 4) แบบสอบถามคุณภาพชีวิต ซึ่งผ่านการตรวจสอบความ
ตรงตามเนื้อหาและวิเคราะห์ความเที่ยงโดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .88 .94 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษา: คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอยู่ในระดับสูง (M = 20.45, SD = 4.10) สมรรถนะของหัวใจ กิจกรรมทางกาย และการสนับสนุนทางสังคม ร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ร้อยละ 26.30 (Adjusted R2 = .26, F = 11.62, p = .029) และพบว่าการสนับสนุนทางสังคมสามารถทำนายคุณภาพชีวิตได้สูงสุด
(β = .414, p < .001) รองลงมา กิจกรรมทางกาย (β = .264, p = .001) และสมรรถนะของหัวใจ (β = -.160,
p = .037)
สรุป: ผลการศึกษาที่ได้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำโปรแกรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
 
ที่มา
Journal of Research in Nursing-Midwifery and Health Sciences ปี 2566, January-April ปีที่: 43 ฉบับที่ 1 หน้า 27-39
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Myocardial infarction, คุณภาพชี่วิต, ปัจจัยทำนาย, predicting factors, young adults, ผู้ใหญ่ตอนต้น, ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด