ผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกชนิดแรงกระแทกต่ำต่อความกลัวการหกล้มการทรงตัว และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู่สูงอายุ
ปัทมา เช้งอาศัย, ชาญชัย เจริญพงศ์สุนทร, ดิษฐพล มั่นธรรม*
Department of Mathematics, Faculty of Science and Technology, Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi.
บทคัดย่อ
อายุที่เพิ่มขึ้นทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา โดยเฉพาะระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ทำให้ส่งผลต่อการหกล้มและปัญหาการทรงตัว การล้มในผู้สูงอายุจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ ลดลง การออกกําลังกายเป็นวิธีการที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพและลดปัญหาความเสี่ยงของการล้มได้ การออกกําลังกายแบบแอโรบิกชนิดที่มีแรงกระแทกต่ำเหมาะกับผู้สูงอายุ และส่งผลให้มีการเพิ่มความแข็ง แรงของร่างกาย ความยืดหยุ่น และการทรงตัวที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลงานวิจัยการศึกษารูป แบบการออกกําลังกายแบบนี้และผลต่อความเสี่ยงในการล้ม ในกลุ่มผู้สูงอายุ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกําลังกายแบบแอโรบิกชนิดที่มีแรงกระแทกต่ำต่อการทรงตัว ความกลัว
การล้มและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ในผู้สูงอายุ การวิจัยรูปแบบเชิงทดลองโดย วัดคะแนนก่อนและหลังเข้าโปรแกรมการออกกําลังกายที่ 12 สัปดาห์ และใช้เครื่องมือ คือ เครื่องมือ ประเมินการหกล้มฉบับภาษาไทย (Thai-FES-I) แบบสอบถามการทรงตัว (Berg-Balance Scale) และ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ (EQ-5D-5L) วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยการทดสอบ pair t-test ระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการออกกําลังกายการศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 46 คน ประชากรในกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงทั้งหมด โดยมีอายุ เฉลี่ยเท่ากับ 62.45+3.51 ปี และ มีค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ย (BMI) เท่ากับ 24.74+3.69 วัตถุประสงค์ของ การวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบคะแนนประเมินอาการกลัวการหกล้ม คะแนนการทรงตัว และคะแนน คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ของผู้สูงอายุก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการออกกําลังกายแบบแอโรบิกชนิด ที่มีแรงกระแทกต่ำ พบว่ามีค่าคะแนนที่ดีขึ้นในทุกด้าน ได้แก่ คะแนนประเมินอาการกลัวการหกล้มที่ ลดลง คะแนนการทรงตัวที่ดีขึ้น รวมไปถึงคะแนนคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพที่ดีขึ้น แตกต่างกันก่อนและ หลังอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P-value เท่ากับ<0.001, 0.027 และ 0.013) ตามลำดับ จากผลการวิจัย สามารถสรุปผลได้ว่า การออกกําลังกายด้วยโปรแกรมการออกกําลังกายแบบแอโรบิกชนิดที่มีแรงกระแทก ต่ำสำหรับผู้สูงอายุ เป็นการออกกกําลังกายอีกรูปแบบที่มีผลต่อการทรงตัว การลดลงของอาการกลัวการ หกล้ม และเพิ่มคุณภาพชีวิตได้
 
 
ที่มา
วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ปี 2565, January-April ปีที่: 12 ฉบับที่ 1 หน้า 14-23
คำสำคัญ
elderly, ผู้สูงอายุ, Exercise, การออกกำลังกาย, การล้ม, aerobic, low impact, falling, แอโรบิก, แรงกระแทกต่ำ