เปรียบเทียบประสิทธิผลความปลอดภัยและความพึงพอใจในการใช้ยาของตำรับยาทาพระเส้นกับไดโครฟิเนคเจลในการรักษาโรคข้อเข่าอักเสบ
คณิตา เพ็งสลุด*, ธวัชชัย กมลธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันโรคกระดูกและข้อเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญเนื่องจากอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะโรคข้อเสื่อม โดยปัญหาของโรคนั้นควรได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผล ความปลอดภัยและความพึงพอใจในการใช้ยาของตำรับยาทาพระเส้นกับไดโคลฟีแนคเจลในการรักษาโรคข้อเข่าอักเสบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบประสิทธิผล 2) ศึกษาความปลอดภัย และ 3) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้ยาระหว่างตำรับยาทาพระเส้นกับไดโคลฟีแนคเจล วิธีดำเนินการวิจัย อาสาสมัคร 75 คนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับยาทาพระเส้นทาครั้งละ 2 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง จำนวน 38 คนและกลุ่มที่ 2 ได้รับยาไดโคลฟีแนคเจลทาครั้งละ 2 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง จำนวน 37 คน ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ประเมินประสิทธิผลด้วยแบบประเมิน VAS WOMAC เส้นรอบวงเข่า แบบประเมินความพึงพอใจ และรายงานผลอาการไม่พึงประสงค์ ผลการวิจัยพบว่า เมื่อใช้ยาทาพระเส้นและยา
ไดโคลฟีแนคเจลเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ยาทั้ง 2 ชนิดมีประสิทธิผลสามารถลดความรุนแรงจากอาการปวด อาการข้อฝืด อาการบวมและความสามารถในการใช้งานข้อเข่าดีขึ้น เมื่อนำมาเปรียบเทียบระหว่างยาทาพระเส้นและยาไดโคลฟีแนคเจล พบว่า แนวโน้มของยาทาพระเส้นมีประสิทธิผลในการลดอาการปวด อาการข้อฝืด และความสามารถในการใช้ข้อเข่าได้มากกว่ายา
ไดโคลฟีแนคเจลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) แต่สามารถลดอาการบวมของข้อเข่าได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) อีกทั้งยาทาพระเส้นมีความพึงพอใจจากการใช้ยามากกว่ายาไดโคลฟีแนคเจล และในการวิจัยครั้งนี้ไม่พบอาการข้างเคียงใดในการใช้ตำรับยาทาพระเส้น ส่วนยาไดโคลฟีแนคเจลพบอาการข้างเคียงจากการใช้ยาเป็นอาการที่ไม่รุนแรงสามารถหายเองได้ สรุปผลการวิจัย ยาทาพระเส้นจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับเป็นแนวทางในการเลือกใช้ยาและมีความปลอดภัยในการบรรเทาอาการของโรคข้อเข่าอักเสบ
ไดโคลฟีแนคเจลเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ยาทั้ง 2 ชนิดมีประสิทธิผลสามารถลดความรุนแรงจากอาการปวด อาการข้อฝืด อาการบวมและความสามารถในการใช้งานข้อเข่าดีขึ้น เมื่อนำมาเปรียบเทียบระหว่างยาทาพระเส้นและยาไดโคลฟีแนคเจล พบว่า แนวโน้มของยาทาพระเส้นมีประสิทธิผลในการลดอาการปวด อาการข้อฝืด และความสามารถในการใช้ข้อเข่าได้มากกว่ายา
ไดโคลฟีแนคเจลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) แต่สามารถลดอาการบวมของข้อเข่าได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) อีกทั้งยาทาพระเส้นมีความพึงพอใจจากการใช้ยามากกว่ายาไดโคลฟีแนคเจล และในการวิจัยครั้งนี้ไม่พบอาการข้างเคียงใดในการใช้ตำรับยาทาพระเส้น ส่วนยาไดโคลฟีแนคเจลพบอาการข้างเคียงจากการใช้ยาเป็นอาการที่ไม่รุนแรงสามารถหายเองได้ สรุปผลการวิจัย ยาทาพระเส้นจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับเป็นแนวทางในการเลือกใช้ยาและมีความปลอดภัยในการบรรเทาอาการของโรคข้อเข่าอักเสบ
ที่มา
Thai Journal of Public Health and Health Scicences ปี 2565, September-December
ปีที่: 5 ฉบับที่ 3 หน้า 154-171
คำสำคัญ
ประสิทธิผล, Efficiency, Safety, SATISFACTION, ความพึงพอใจ, ความปลอดภัย, diclofenac gel, Ta-Pha-Sen, Osteoarthritis of Knees, ทาพระเส้น, ไดโครฟิแนคเจล, โรคข้อเข่าอักเสบ