การศึกษาชีวสมมูลและเภสัชจลนศาสตร์ของยา sildenafil ในอาสาสมัครชายไทยที่มีสุขภาพดี
ดนุ เกษรศิริ, บุญเกิด คงยิ่งยศ, ปณต ตั้งสุจริต, ประภาวดี พัวไพโรจน์, วิจิตรา ทัศนียกุล, ศิริพร เทียมเก่า, ศิริมาศ กาญจนวาศ*, สุดา วรรณประสาท
Department of Pharmacology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: Sidenafil เป็นยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งปัจจุบันยานี้ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมาจากผู้ผลิตหลายบริษัท ดังนั้นเพื่อประกันถึงประสิทธผลและความปลอดภัยของยาสามัญที่จำหน่ายในประเทศไทย จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาเปรียบเทียบชีวสมมูลของยาระหว่างตำรับทดสอบและตำรับอ้างอิงวัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาว่ายาเตรียม sidenafil 2 ตำรับ คือ Erecâ(บริษัท ยูนิสัน จำกัด, ประเทศไทย) และ Viagraâ (บริษัทไฟเซอร์ จำกัด, ประเทศออสเตรเลีย) มีชีวสมมูลกันหรือไม่รูปแบบการวิจัย: เป็นการศึกษาแบบสุ่มไขว้สลับ ภายใต้สภาวะที่ต้องอดอาหาร โดยการให้ยาแบบรับประทานครั้งเดียวในขนาด 100 มก.ประชากรที่ศึกษา: อาสาสมัครชายไทยที่มีสุขภาพดีจำนวน 15 รายสถานที่ศึกษาวิจัย: ภาควิชาเภสัชวิทยาและโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นวิธีการวิจัย: อาสาสมัครได้รับยาในขนาด 100 มก. และทำการเก็บเลือดผ่าน catheter ที่เวลาต่างๆ ภายหลังการได้รับยาจนกระทั่ง 12 ชั่วโมง เพื่อนำไปวิเคราะห์หาปริมาณยา sildenafil โดยวิธี HPLC ค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ที่ใช้ในการตัดสินความเท่าเทียมกันทางชีวสมมูลได้แก่ ค่าระดับยาสูงสุดในเลือด (Cmax) และพื้นที่ใต้เส้นโค้งความสัมพันธ์ระหว่างระดับยาในเลือดกับเวลาที่เวลา 0 ถึง เวลาที่จุดสุดท้ายที่สามารถวัดความเข้มข้นของยาได้ (AUC o-t tast)ผลการวิจัย: หลังได้รับยา sildenafil อาสาสมัครทนต่อยาทั้ง 2 ตำรับได้ดี โดยไม่มีอาการไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรงจากยา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 90 % พบว่าค่าเฉลี่ยของสัดส่วนของ Ln Cmax อยู่ในพิสัย 0.8377-1.1985 และค่าเฉลี่ยของสัดส่วนของ Ln AUC o-t tast อยู่ในพิสัย 0.8610-1.1590 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ถือว่ามีชีวสมมูลกันตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดไว้ (0.80 - 1.25)สรุปผลการวิจัย: ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงว่า Erecâ ซึ่งเป็น sildenafil ตำรับยาใหม่ชนิดยาสามัญ มีชีวสมมูลกันกับ Viagraâ ที่เป็นตำรับอ้างอิงเมื่อให้โดยการรับประทานขณะท้องว่างในขนาด 100 มก.
ที่มา
ศรีนครินทร์เวชสาร ปี 2551, January-March ปีที่: 23 ฉบับที่ 1 หน้า 38-44
คำสำคัญ
Bioequivalence, ชีวสมมูล, Sildenafil