ประสิทธิผลของการดูดเสมหะในปากด้วยเอ็มยู-ซักเกอร์เปรียบเทียบกับสายดูดเสมหะแบบปกติในเด็กอายุ 1-3 ปีที่มีเสมหะ
ชัญภร ยินยอม, เสริมศรี สันติ*, เรณู พุกบุญมีโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
เสมหะ นับเป็นปัญหาสำคัญในเด็กที่มีการติดเชื้อในระบบหายใจ การดูแลรักษาที่จำเป็นคือการระบายเสมหะออกอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับเด็กเล็กที่บ้วนเสมหะออกเองไม่ได้ การกระตุ้นให้ไอและดูดเสมหะในปาก เป็นวิธีที่จำเป็นที่จะนำเสมหะออกจากท่อทางเดินหายใจได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลองศึกษาแบบไขว้ในกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการดูดเสมหะในปากระหว่างการใช้เอ็มยู-ซักเกอร์เปรียบเทียบกับสายดูดเสมหะแบบปกติในเด็กอายุ 1-3 ปี ในด้านความเจ็บปวด ปริมาณของเสมหะที่ดูดได้ และการบาดเจ็บของเยื่อบุทางเดินหายใจ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุ 1-3 ปี ที่มีความจำเป็นต้องได้รับการดูดเสมหะทางปาก จำนวน 30 ราย และต้องได้รับการดูดเสมหะทั้ง 2 วิธี แต่จะทำการสุ่มเลือกวิธีการดูดเสมหะครั้งแรกและครั้งต่อไปโดยวิธีการจับสลาก การดูดเสมหะแต่ละครั้งจะต้องทำห่างกันอย่างน้อย 3 ชั่วโมง วิเคราะห์เปรียบเทียบของค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวด และค่าเฉลี่ยปริมาณเสมหะด้วยสถิติวิลคอกสัน และเปรียบเทียบการบาดเจ็บของเยื่อบุุทางเดินหายใจระหว่างสองวิธีด้วยสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวดที่ได้รับจากการดูดเสมหะโดยใช้เอ็มยู -ซักเกอร์ไม่น้อยกว่าใช้สายดูดเสมหะแบบปกติ ค่าเฉลี่ยของปริมาณเสมหะที่ดูดได้จากการใช้เอ็มยู -ซักเกอร์ไม่มากกว่าใช้สายดูดเสมหะแบบปกติ และการบาดเจ็บของเยื่อบุุทางเดินหายใจเมื่อใช้เอ็มยู -ซักเกอร์ไม่น้อยกว่าใช้สายดูดเสมหะแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการศึกษา ถึงแม้ว่าการดูดเสมหะทางปากโดยการใช้เอ็มยู-ซักเกอร์ ไม่ได้มีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้สายดูดเสมหะแบบปกติ แต่จากการสัมภาษณ์พยาบาลและผู้ดูแลเด็กเพิ่มเติม พบว่า พยาบาลและผู้ดูแลเด็ก มีความพึงพอใจต่อการใช้เอ็มยู -ซักเกอร์ เนื่องจากสายมีความยาวพอเหมาะ จับถนัดมือ สามารถดูดเสมหะคนเดียวได้โดยไม่ต้องใช้หลายคนช่วย จึงอาจกล่าวได้ว่าเอ็มยู-ซักเกอร์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นทางเลือกนำไปใช้ในการดูดเสมหะในปากเด็กได้ และมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกับสายดูดเสมหะแบบปกติ
ที่มา
Nursing Research and Innovation Journal ปี 2566, January-April
ปีที่: 29 ฉบับที่ 1 หน้า 29-41
คำสำคัญ
pain, ความเจ็บปวด, Injury of respiratory mucosa, MU-Sucker, Oropharyngeal suction, Secretion volumes, การบาดเจ็บของเยื่อบุทางเดินหายใจ, เอ็มยู-ซักเกอร์, การดูดเสมหะในปาก, ปริมาณเสมหะ