การให้ 0.5% Isobaric Levobupivacaine กับ 0.5% Hyperbaric Bupivacaine เข้าช่องไขสันหลังเพื่อผ่าตัดซ่อมแซมไส้เลื่อนขาหนีบ
ธานินทร์ ภิญโญพรพาณิชย์, พิมพ์สุภา สุทธชีวเทพ*
กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการให้เลโวบูพิวาเคนเข้าช่องไขสันหลังเพื่อระงับความรู้สึกในผู้ป่วยผ่าตัดซ่อมแซมไส้เลื่อนขาหนีบวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบวิเคราะห์เปรียบเทียบในผู้ป่วยผ่าตัดซ่อมแซมไส้เลื่อนขาหนีบระหว่างกลุ่มที่ใช้เลโวบูพิวาเคนกับบูพิวาเคนเข้าช่องไขสันหลังเพื่อระงับความรู้สึก โดยได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมเพื่อการวิจัยในมนุษย์โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ระยะเวลาที่ศึกษาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2549 ผู้ป่วยได้รับการอธิบายจนเข้าใจและลงนามในใบยินยอมรับการศึกษา เก็บข้อมูลไปข้างหน้า ศึกษาในผู้ป่วยไส้เลื่อนขาหนีบที่นัดมาผ่าตัดแบ่งเป็น 2 กลุ่มเท่า ๆ กันโดยใช้คอมพิวเตอร์ สุ่มแบ่งเป็นกลุ่มเลโวบูพิวาเคนให้ยาเลโวบูพิวาเคน 0.5% 3.5 มล. และกลุ่มบูพิวาเคนให้ยาบูพิวาเคน 0.5% 3.5 มล. ประเมินระยะเวลาเริ่มออกฤทธิ์และระยะเวลาของการออกฤทธิ์ทั้งการระงับประสาทการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหวทุก 1 นาทีจนระดับยาสูงสุดหลังจากนั้นทุก 20 นาทีจนยาหมดฤทธิ์ และบันทึกภาวะแทรกซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05ผลการศึกษา: ในช่วงเวลาที่ศึกษามีผู้ป่วยไส้เลื่อนขาหนีบนัดมาผ่าตัด 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 30 คน ทั้ง 2 กลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในเรื่องระยะเวลาเริ่มออกฤทธิ์ของการระงับประสาทการรับความรู้สึกและเรื่องระยะเวลาของการออกฤทธิ์ทั้งการระงับประสาทการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหว (เลโวบูพิวาเคน=14.4±2.9 นาที, 279.6±37.9 นาที, 241.3± 36.3 นาที; บูพิวาเคน=10.2±2.2 นาที, 243.3±33.1 นาที, 214.3±29.5 นาที; p<0.001, p<0.001, p=0.003 ตามลำดับ) แต่ไม่แตกต่างกันในเรื่องระยะเวลาเริ่มออกฤทธิ์ของการระงับประสาทเคลื่อนไหว (เลโวบูพิวาเคน=9.1±3.0 นาที; บูพิวาเคน=7.6±3.0 นาที, p=0.68) มัธยฐานของระดับการชาในกลุ่มบูพิวาเคนสูงกว่า (T4) กลุ่มเลโวบูพิวาเคน (T6) ผู้ ป่วย 3 คนในกลุ่มเลโวบูพิวาเคนมี ระดับการชาไม่เพียงพอสำหรับการผ่าตัด แรงดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มบูพิวาเคนต้องใช้ยาเอฟีดรีนเฉลี่ย 5.6±6.7 มก.ในการรักษาแรงดันโลหิตต่ำซึ่งมากกว่ากลุ่มเลโวบูพิวาเคนที่ใช้ยา 2.4±3.7 มก.สรุป: เลโวบูพิวาเคน 0.5% 3.5 มล. มีประสิทธิผลน้อยกว่าแต่ปลอดภัยมากกว่าบูพิวาเคน 0.5% 3.5 มล.ในการฉีดเข้าช่องไขสันหลังเพื่อระงับความรู้สึกในการผ่าตัดซ่อมแซมไส้เลื่อนขาหนีบ 
ที่มา
พุทธชินราชเวชสาร ปี 2549, September-December ปีที่: 23 ฉบับที่ 3 หน้า 308-316
คำสำคัญ
Spinal anesthesia, Levobupivacaine, การฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง, Inguinal herniorrhaphy, การผ่าตัดซ่อมแซมไส้เลื่อนขาหนีบ, เลโวบูพิวาเคน