การศึกษาผลจากการล้างช่องปากด้วยน้ำยาบ้วนปากเพื่อลดอาการเจ็บคอหลังการผ่าตัด
ณัฐพร สัมปัตตะวนิช*, จิตต์ศจี สิชฌนุกฤษฎ์, กอบกุล อุณหโชค
แผนกผิวหนัง กองอายุกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
บทคัดย่อ
ที่มาและความสำคัญ แผ่นปิดแผลจากเซลลูโลสของแบคทีเรีย (BC) สามารถใช้กับแผลหลายชนิด ได้แก่ แผลไฟไหม้ หรือแผล เรื้อรัง แต่ยังไม่มีการศึกษาการใช้ BC ในแผลจากคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ ซึ่งเป็นเลเซอร์ทางผิวหนังที่ใช้ บ่อย วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของ BC เปรียบเทียบกับการใช้ แผ่นตาข่ายเคลือบปิโตรลาตุม (PG) ในการรักษาบาดแผลจากเลเซอร์ คาร์บอนไดออกไซด์ วิธีดำเนินการ อาสาสมัคร 26 คนที่มีกระเนื้อ (seborrheic keratoses) สองจุดในบริเวณเดียวกัน ได้รับการ รักษาด้วยเลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ แต่ละรายจะได้รับการสุ่มเลือกบาดแผลสำหรับการปิดแผลด้วย BC หรือ PG โดยวัสดุปิดแผลจะ ได้รับการเปลี่ยนในวันที่ 2, 4, 7 และ 10 หลังการทำเลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ ร่วมกับประเมินการหายของแผลด้วยคะแนน BWAT และ ImageJ พร้อมทั้งบันทึกคะแนนความเจ็บปวดและความพึงพอใจของอาสาสมัครด้วยทุกครั้ง ผลการศึกษา อาสาสมัครทั้ง 26 คน สามารถเข้าร่วมงานวิจัยได้จนจบ ส่วนใหญ่เป็นรอยโรคบริเวณที่ไม่ใช่ใบหน้า จากการประเมินการหายของบาดแผลด้วย BWAT และ ImageJ พบว่า แผลที่ใช้ BC ให้ ผลไม่แตกต่างจากการใช้ PG และเมื่อวิเคราะห์แผลด้วย ImageJ พบว่า แผลที่ใช้ BC มีแนว โน้มของเปอร์เซ็นต์การหายของแผลสูงกว่า แต่ยังไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (PG vs BC วันที่ 2 = 20.5 vs 24.6; p = 0.373, วันที่ 4 = 40.52 vs 45.32%; p = 0.354, วันที่ 7 = 58.03 vs 61.35; p = 0.369, วันที่ 10 = 67.79 vs 70.9; p = 0.426) นอกจากนี้อาสา สมัครให้ คะแนนความพึงพอใจต่อวัสดุปิดบาดแผลทั้งสองชนิดไม่แตกต่างกัน และไม่พบภาวะแทรกซ้อนในการศึกษานี้สรุป BC มี ประสิทธิภาพไม่แตกต่างจากวัสดุปิดแผลดั้งเดิม และสามารถใช้กับบาดแผลหลังการทำเลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างปลอดภัย
 
ที่มา
เวชสารแพทย์ทหารบก ปี 2566, April-June ปีที่: 76 ฉบับที่ 2 หน้า 201-210
คำสำคัญ
postoperative sore throat, หลังผ่าตัด, Four-point scale, Special mouthwash oral rinse, อาการเจ็บคอ, น้ำยาบ้วนปาก