การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการเริ่มรับประทานอาหารหลังผ่าตัดได้เร็วกว่าปกติและตามขั้นตอนแบบเดิม ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าท้องทำคลอด: การศึกษาแบบสุ่ม
วริศรา จันทรศร*, เยื้อน ตันนิรันดร
Department of Obstetrics and Gyneacology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Rama IV Rd, Bangkok 10330, Thailand. Phone: 0-2256-4241, Fax: 0-2254-9292, E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพ และอาการข้างเคียง ระหว่างการเริ่มรับประทานอาหารหลังผ่าตัดได้เร็วกว่าปกติ และตามขั้นตอนแบบเดิม ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าท้องทำคลอดวัสดุและวิธีการ: สตรีที่ได้รับการผ่าท้องทำคลอดโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ถูกสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้รับอาหารหลังผ่าท้องทำคลอดเร็วกว่าเวลาปกติที่เคยปฏิบัติ อีกกลุ่มหนึ่งได้รับอาหารตามขั้นตอนแบบเดิม โดยกลุ่มที่ได้รับอาหารเร็วกว่าเวลาปกติจะได้รับอาหารเหลวภายใน 8 ชั่วโมง หลังการผ่าตัด มื้อถัดไปเป็นอาหารอ่อนและอาหารธรรมดาตามลำดับ ส่วนกลุ่มที่ได้รับอาหารตามขั้นตอนแบบเดิม จะเริ่มจิบน้ำได้ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด มื้อถัดไปเป็นอาหารเหลว และในวันที่สองหลังผ่าตัดจะได้รับอาหารอ่อนและอาหารธรรมดาในวัดถัดไปผลการศึกษา: จากจำนวนผู้ที่ได้รับการผ่าท้องทำคลอด 200 คน ที่เข้าร่วมโครงการศึกษานี้ จำนวน 107 คน ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ได้รับอาหารเหลวเร็วกว่าปกติที่เคยปฏิบัติ และจำนวน 93 คนอยู่ในกลุ่มที่ได้รับอาหารตามขั้นตอนแบบเดิม ผู้ที่เข้าร่วมโครงการทั้งสองกลุ่มนี้ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในเรื่องอายุ จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ อายุครรภ์ น้ำหนักเด็ก ระยะเวลาที่งดน้ำและอาหารก่อนผ่าตัด ผู้ทำผ่าตัด ขั้นตอนการผ่าตัด ระยะเวลาทำผ่าตัดและวิธีระงับความรู้สึกขณะผ่าตัด ไม่พบว่ามีภาวะแทรกซ้อน ทั้งในขณะผ่าตัดและในระยะพักฟื้น กลุ่มที่ได้รับอาหารเร็วกว่าปกติมีอัตราการเกิดอาหารท้องอืดแบบไม่รุนแรงน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารตามขั้นตอนแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญ (19.6% ต่อ 31.1%) และยังพบว่าลำไส้ทำงานเป็นปกติได้เร็วกว่า (16.7 ชั่วโมงต่อ 25.3 ชั่วโมง) ระยะเวลาในการได้รับน้ำเกลือหลังผ่าตัดสั้นลง (20.5 ชั่วโมง ต่อ 24.8 ชั่วโมง) รวมทั้งสามารถลดระยะเวลาพักในโรงพยาบาลได้อย่างมีนัยสำคัญ (3.3 วันต่อ 4.0 วัน)สรุป: ผลการศึกษาพบว่า การเริ่มรับประทานอาหารเร็วกว่าปกติหลังการผ่าท้องทำคลอดที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ทำให้สามารถลดอัตราการเกิดอาการท้องอืดแบบไม่รุนแรงได้ และได้รับประโยชน์อื่นๆ เช่น ทำให้ลำไส้ทำงานเป็นปกติได้เร็วขึ้น ระยะเวลาในการได้รับน้ำเกลือหลังผ่าตัด และระยะเวลาพักในโรงพยาบาลสั้นลงเป็นต้น จึงเสนอแนะว่าน่าจะพิจารณานำมาใช้กับผู้ที่ได้รับการผ่าท้องทำคลอดที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน โดยที่ผู้ป่วยควรได้รับการแนะนำถึงข้อดีและข้อเสียของวิธีการให้อาหารหลังผ่าตัดโดยละเอียด และแพทย์สามารถอนุญาตให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเร็วกว่าปกติได้ถ้าผู้ป่วยต้องการ
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2549, April ปีที่: 89 ฉบับที่ 0 หน้า S11-16
คำสำคัญ
Cesarean section, Early postoperative feeding, Ileus symptoms