การศึกษานำร่องแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมเพื่อดูอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรกเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับหรือไม่ได้รับยาชา Lidocaine เฉพาะที่ในทางเดินหายใจส่วนต้น
กัญจนี วชิรรังสิมันตุ์*, ศิวนาฏ พีระเชื้อ
กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 16/2 ถนนพหลโยธิน ต
บทคัดย่อ
 แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในประเทศไทยส่วนใหญ่ใส่ท่อช่วยหายใจที่แผนกฉุกเฉินด้วยเทคนิคการให้ยาสงบ ประสาท การศึกษานำร่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการศึกษาอัตราใส่ท่อช่วยหายใจสำเร็จ ตั้งแต่ครั้งแรกเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ใช้ยาชา Lidocaine เฉพาะที่กับทางเดินหายใจส่วนต้นเทียบกับกลุ่มที่ไม่ใช้ การศึกษาสองกลุ่มแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม ที่แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ระหว่าง เดือนตุลาคม 2565 ถึง เมษายน 2566 ผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีข้อบ่งชี้ในการใส่ท่อช่วยหายใจทางปากถูกคัดเข้า และสุ่มเข้าแต่ละกลุ่มด้วยจดหมายปิดผนึก กลุ่มควบคุมได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจด้วยเทคนิคการให้หรือไม่ให้ ยาสงบประสาท กลุ่มทดลองได้รับยาชา Lidocaine เฉพาะที่ที่ทางเดินหายใจส่วนต้นร่วมด้วย การศึกษาความเป็นไปได้ วัดจากอัตราการคัดผู้ป่วยเข้าสู่การศึกษา ได้การรักษาตามที่ถูกจัดสรร และความสมบูรณ์ของข้อมูล ผลลัพธ์ทาง คลินิกหลักคือ อัตราการใส่ท่อช่วยหายใจสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรก และผลลัพธ์รองคือ ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการ ใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้ป่วย 259 รายที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจแต่คัดออก 179 ราย ตรงเกณฑ์เข้าสู่การศึกษา 80 ราย สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 40 ราย คัดผู้ป่วยได้ตามเป้าภายใน 6 เดือน ได้การรักษาตามที่ ถูกจัดสรรร้อยละ 97.5 ความสมบูรณ์ของข้อมูลอยู่ที่ร้อยละ 91.3 จากตั้งไว้ที่ร้อยละ 95.0 อัตราการใส่ ท่อช่วยหายใจสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรกสูงกว่าในกลุ่มยาชาพบร้อยละ 72.5 เทียบกับ ร้อยละ 60 (ค่าความแตกต่าง ร้อยละ 12.5, ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 = 8.0-33.0) ระดับออกซิเจนระหว่างใส่ท่อช่วยหายใจต่ำกว่าร้อยละ 90 พบบ่อยกว่าในกลุ่มได้รับยาชาพบร้อยละ 22.5 เทียบกับ ร้อยละ 10 (ค่าความแตกต่างร้อยละ 12.5, ความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 = 3.4-28.4) มี ผู้ป่วยระดับออกซิเจนก่อนใส่ท่อช่วยหายใจต่ำกว่าร้อยละ 90 ถูกคัดสู่การศึกษา ขณะแพทย์ ใส่ท่อช่วยหายใจพบว่าการให้ยาชา Lidocaine หยอดในท่านอนในผู้ป่วยที่กระสับกระส่ายและไม่ให้ความร่วมมือนั้นยาก การศึกษาในอนาคตที่มีจำนวนตัวอย่างมากขึ้นที่จะบอกความแตกต่างทางสถิติของผลลัพธ์ทางคลินิกที่สนใจ มีความเป็นไปได้ ด้วยการปรับเกณฑ์การคัดออก กระบวนการเก็บข้อมูล และเทคนิคการให้ยาชา
 
ที่มา
วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปี 2566, December ปีที่: 31 ฉบับที่ 3 หน้า 60-73
คำสำคัญ
endotracheal intubation, Emergency Department, การใส่ท่อช่วยหายใจ, Topical lidocaine, first-pass success rate, ยาชาลิโดเคน, แผนกฉุกเฉิน, อัตราความสำเร็จในการใส่ท่อช่วยหายใจตั้งแต่ครั้งแรก