ผลการให้ความรู้ในการเพิ่มโปรตีนในมื้ออาหารร่วมกับการจดบันทึกต่อการเพิ่มประสิทธิภาพทางกายในผู้สูงอายุที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อย การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่ม
ศศิวิมล ทองวิลาศกลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลนครพิงค์ E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยเปรียบเทียบความรู้ด้านโภชนาการการเพิ่มโปรตีนในมื้ออาหารและสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อยระหว่างกลุ่มที่ให้ความรู้โภชนาการเพียงอย่างเดียวเทียบกับกลุ่มที่จดบันทึก
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบทดลองสุ่ม ศึกษาในของโรงพยาบาลสันทรายระหว่าง ตุลาคม-พฤศจิกายน 2565 ระหว่างกลุ่มที่ให้ความรู้โภชนาการเพียงอย่างเดียวกับกลุ่มที่จดบันทึก กลุ่มละ 76 ราย ระยะเวลาศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลนาน 10 เดือน วัดผลโดยใช้แบบทดสอบการวัดความเร็วใน การเดินทางราบ การทดสอบลุกขึ้นและเดิน แบบประเมินสมรรถภาพทางกาย แบบประเมินภาวะโภชนาการ แบบประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น และแบบประเมินคุณภาพชีวิต โดยแบบประเมินวัดก่อนและหลังที่ 4 สัปดาห์ 8 สัปดาห์ 12 สัปดาห์ และ 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติที่ใช้ คือ การแจกแจง ความถี่ ร้อยละ เปรียบเทียบสัดส่วนด้วยสถิติ Fisher’s exact test และเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายระหว่างกลุ่มควบคุมและทดลองด้วย independent t-test
ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษา 152 คน เพศหญิง ร้อยละ 60.5 อายุเฉลี่ย 64.90 ± 3.42 ปี BMI เฉลี่ย 22.54 ±1.88 กก/ตร.ม. ทั้งสองกลุ่มได้รับการประเมินค่าพื้นฐาน พบว่าผลไม่แตกต่างกัน การประเมินผล ในระยะเวลา 4 สัปดาห์ 8 สัปดาห์ 12 สัปดาห์ และ 6 เดือน พบว่า ผลการทดสอบและ การประเมินดีขึ้นทุกด้านในกลุ่มทดลองเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ โดยผลประเมินที่ 4 สัปดาห์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนด้าน ความเร็วในการเดิน 4 เมตร ค่าเฉลี่ย 2.77 ± 0.06, 2.86 ± 0.05 วินาที (p< 0.001) ทดสอบลุกขึ้นและเดิน ค่าเฉลี่ย 12.77 ± 0.06, 14.39 ± 0.30 วินาที (p< 0.001), ประเมินสมรรถภาพทางกาย ค่าเฉลี่ย 7.00 ± 0.00, 6.00 ± 0.00 คะแนน (p< 0.001), ประเมินภาวะโภชนาการ ค่าเฉลี่ย 9.61 ± 2.89, 9.08 ± 0.73 คะแนน (p< 0.001), ประเมินความเสี่ยงในการหกล้ม ค่าเฉลี่ย 75.00 ± 0.00, 90.00 ± 0.00 คะแนน (p< 0.001), แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น ค่าเฉลี่ย 25.55 ± 0.60, 24.77 ± 0.59 คะแนน (p< 0.001), และประเมินคุณภาพชีวิต ค่าเฉลี่ย 80.00 ± 0.00, 76.00 ± 0.00 คะแนน (p< 0.001) ตามลาดับ
สรุป: การให้ความรู้ในการเพิ่มโปรตีนในมื้ออาหารร่วมกับจดบันทึกทาให้ผู้สูงอายุที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อยในโรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สามารถรักษาองค์ความรู้ด้านโภชนาการสาหรับการเพิ่มโปรตีนในมื้ออาหาร และทาให้มีประสิทธิภาพทางกายดีขึ้นเมื่อเทียบกับการให้ความรู้เพียงอย่างเดียว
ที่มา
Journal of Nakornping Hospital ปี 2567, January-June
ปีที่: 15 ฉบับที่ 1 หน้า 175-188
คำสำคัญ
Physical performance, Additional protein intake via dietary, Recording, Sarcopenic elderly, การเพิ่มโปรตีนในมื้ออาหาร, จดบันทึก, ประสิทธิภาพทางกาย, ผู้สูงอายุที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อย