การใช้ยาเมโทโคลพราไมด์ในการป้องกันการเกิดภาวะลำไส้อืดหลังการผ่าตัดโรคทางนรีเวชที่ไม่ใช่มะเร็ง : การศึกษาแบบสุ่ม
ชัยณรงค์ ศิลปษา*, รุ่งฤดี จีระทรัพย์, ทุมวดี ตั้งศิริวัฒนาDepartment of Obstetrics and Gynecology, Khon Kaen Hospital, Khon Kaen, 40000, Thailand; Email: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของยาเมโทรโคลพลาไมด์ในการป้องการเกิดภาวะลำไส้อืดหลังการผ่าตัดโรคทางนรีเวชที่ไม่ใช่มะเร็ง
วัสดุและวิธีการ: อาสาสมัครผู้เข้าร่วมที่ได้รับการวินิจฉัยโรคทางนรีเวชที่ไม่ใช่มะเร็ง และมีกำหนดการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องที่โรงพยาบาลขอนแก่น ระหว่างเดือน ตุลาคม พ.ศ.2564 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ได้รับการสุ่มแบ่งอาสาสมัครเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มเมโทโคลพราไมด์จำนวน 25 คน ได้รับยาเมโทโคลพราไมด์ ปริมาณ 2 มิลลิลิตร (ขนาด 10 มิลลิกรัม) แบบฉีดทางกล้ามเนื้อ ในขณะที่กลุ่มควบคุมจำนวน 25 คน ได้รับน้ำเกลือปริมาณ 2 มิลลิลิตร แบบฉีดทางกล้ามเนื้อ ที่สองชั่วโมงหลังผ่าตัด
ผลการศึกษา: กลุ่มเมโทโคลพราไมด์มีระยะเวลาการผายลมครั้งแรกหลังการผ่าตัดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (1,785.3 ± 125.7 vs. 2,186.3 ± 103.9 นาที, mean difference 401.0 นาที (95% CI 73.1 to 728.9; p = 0.02) อุบัติการณ์ผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อืดหลังการผ่าตัดลดลงอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่ได้ยาเมโทโคลพราไมด์เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (ร้อยละ 28% vs. 68; p < 0.01) กลุ่มเมโทโคลพราไมด์มีระยะเวลาในการเริ่มขับถ่ายอุจจาระ, การสามารถเริ่มรับประทานอาหารที่เคี้ยวได้, การใช้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน, การใช้แก้ปวดเพิ่ม และระยะเวลาในการพักรักษาตัวโรงพยาบาลน้อยกว่ากลุ่มควบคุม แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่พบผลข้างเคียงที่สัมพันธ์กับการใช้ยาเมโทโคลพราไมด์ในการศึกษานี้
สรุป: การได้รับยาเมโทโคลพราไมด์แบบฉีดทางกล้ามเนื้อหลังผ่าตัดช่วยกระตุ้นการทำงานของสำไส้หลังการผ่าตัดโรคทางนรีเวชที่ไม่ใช่มะเร็ง
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2566, May-June
ปีที่: 31 ฉบับที่ 3 หน้า 192-200
คำสำคัญ
Postoperative ileus, Metoclopramide, benign gynecologic surgery, ยาเมโทโคลพราไมด์, การผ่าตัดโรคทางนรีเวชที่ไม่ใช่มะเร็ง, ภาวะลำไส้อืดหลังการผ่าตัด