ผลของการการฉีดยาเดกซ่าเมทาโซนในการป้องกันภาวะคลื่นไส้และหรืออาเจียนหลังผ่าตัดมดลูก: การศึกษาแบบสุ่ม
กันยาวีร์ สุหงษา*, เจษฎา วุฒิธรรมสุข, ทุมวดี ตั้งศิริวัฒนา
Department of Obstetrics and Gynecology, Khon Kaen Hospital, Khon Kaen 40000, Thailand; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการฉีดยาเดกซ่าเมทาโซนในการลดภาวะคลื่นไส้และหรืออาเจียนหลังผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องที่ไม่ใช่มะเร็ง
วัสดุและวิธีการ: ผู้เข้าร่วมวิจัยที่ได้รับกำหนดการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องและหรือปีกมดลูกและรังไข่ ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ.2565 ถึงเมษายน พ.ศ.2566 ได้รับการสุ่มแบ่งอาสาสมัครเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 43 คน กลุ่มได้รับยาเดกซ่าเมทาโซนฉีดทางเส้นเลือดดำปริมาณ 2 มิลลิลิตร (ขนาด 8 มิลลิกรัม) และกลุ่มควบคุม ได้รับนอร์มอลซาไลน์ปริมาณ 2 มิลลิลิตร แบบฉีดทางเส้นเลือดดำที่สองชั่วโมงหลังผ่าตัด
ผลการศึกษา: ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของอุบัติการณ์การเกิดคลื่นไส้อาเจียนภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ของกลุ่มที่ได้ยาเดกซ่าเมทาโซนและกลุ่มควบคุม (32.6% vs 48.8%, relative risk 0.67(95% confidence interval 0.39 to 1.13), p = 0.09) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการขอยาต้านอาเจียนเพิ่ม (0% vs 9.3%, p = 0.05) ไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรงเกิดขึ้นในผู้ร่วมวิจัยทั้งสองกลุ่ม กลุ่มเดกซ่าเมทาโซนมีคะแนนความปวดหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง (4.7 ± 1.5 vs 5.8 ± 2.2, p = 0.01) ไม่พบว่ามีความแตกต่างในการขอรับยาแก้ปวดเพิ่มเติมในทั้งสองกลุ่ม
สรุป: การได้รับยาเดกซ่าเมทาโซน 8 มิลลิกรัมแบบฉีดทางเส้นเลือดดำหลังผ่าตัดไม่ช่วยลดภาวะคลื่นไส้อาเจียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในช่วง 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัดมดลูกทางนรีเวชที่ไม่ใช่มะเร็ง
 
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2567, May-June ปีที่: 32 ฉบับที่ 3 หน้า 196-204
คำสำคัญ
PONV, dexamethasone, Hysterectomy, Postoperative nausea and vomiting, ภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังการผ่าตัด, ยาเดกซ่าเมทาโซน, ผ่าตัดมดลูก