การประเมินต้นทุน-ผลได้โครงการแก้ไขปัญหาภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลน่าน
วีระชัย เตชะเสนา
กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลน่าน
บทคัดย่อ
 วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินประสิทธิภาพและประเมินต้นทุน-ผลได้ (Cost – benefit analysis) ของโครงการแก้ไขปัญหาภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดในมุมมองของผู้ให้บริการ (Provider view point) รูปแบบการศึกษา: การศึกษาวิจัยเชิงพรรณาสถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลน่าน จังหวัดน่านวิธีการศึกษา: การวิเคราะห์และประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์ โดยการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้ (Cost – benefit analysis) ในมุมมองของผู้ให้บริการ (Provider view point) โดยมีการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective) ทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ จากการบริการผู้ป่วยคลอดของโรงพยาบาลน่านในช่วงปีงบประมาณ 2543-2546ผลการศึกษา: ปัญหาภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดจังหวัดน่าน มีแนวโน้มลดลงโดยในปีงบประมาณ 2546 ลดลงร้อยละ 39.09 จากปีงบประมาณ 2543 โดยสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด คือ สาเหตุที่มาจากการคลอดที่มีสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 57.35, 63.54, 59.81 และ 63.95 ในปีงบประมาณ 2543-2546 ตามลำดับ ในขณะที่ต้นทุนการให้บริการผู้ป่วยของโรงพยาบาลน่าน ในปี 2546 พบว่าต้นทุนต่อหน่วยการให้บริการผู้ป่วยในเฉลี่ย 9,002 บาท ต่อครั้ง (เฉลี่ย 1,802 บาทต่อวัน) โดยตึกผู้ป่วยหนักเด็กมีต้นทุนต่อหน่วยเท่ากับ 25,655 บาทต่อครั้ง (เฉลี่ย 4,263 บาทต่อวัน) และหออภิบาลทารกป่วย) มีต้นทุนต่อหน่วยเท่ากับ 14,248 บาท ต่อครั้ง (เฉลี่ย 1,674 บาทต่อวัน)                 ผลการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้ (Cost – benefit analysis) ในมุมมองของผู้ให้บริการ (Provider point of view) โดยต้นทุนในการดำเนินการตลอด 4 ปี เท่ากับ 81,500 บาท ในส่วนของผลได้พบว่าผลได้ทางตรงของโครงการสามารถช่วยลดอัตราภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดจากอัตราการขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดซึ่งพบว่าในปีงบประมาณ 2546 มีสัดส่วนลดลงจากปี 2542 ร้อยละ 51.31 จากอัตราภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่ลดลง ได้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านค่ารักษาพยาบาลทารกที่มีภาวะ Birth asphyxia โดยสามารถที่จะประหยัดต้นทุนในการดูแลรักษาทารกแรกเกิดที่มีภาวะขาดออกซิเจนถึงปีละ 884,280 บาท โดยสามารถประหยัดงบประมาณในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดรวมทั้งหมดจำนวน 3,537,119 บาท สรุปผลการศึกษา: จากการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้ (Cost – benefit analysis) พบว่าสัดส่วน Benefit/Cost ของโครงการแก้ไขปัญหาภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด เท่ากับ 43.40 ดังนั้น จึงถือว่าโครงการนี้มีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ในส่วนผลได้ทางอ้อมยังสามารถลดอัตราตายทารกปริกำหนดจากภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดลงจากจำนวน 5 ราย ในปี 2543 เป็น 2 ราย ในปี 2544 และไม่พบทารกตายปริกำหนดจากภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดในปี 2545 และปี 2546 ซึ่งผลของโครงการที่สามารถลดการตายของทารกแรกเกิดนั้นนับได้ว่าเป็นผลได้อ้อมที่มีค่าเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเมื่อมองถึงชีวิตมนุษย์ที่ถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่า
ที่มา
วารสารโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ปี 2547, พฤษภาคม-สิงหาคม ปีที่: 19 ฉบับที่ 2 หน้า 36-44
คำสำคัญ
Birth asphyxia, ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด