ผลการใช้ burst TENS กระตุ้นเส้นประสาท personal nerve ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง: ผลต่ออาการเกร็งและความแข็งแรงกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้า
ณรงค์รัตน์ สวัสติกานนท์, ภัทรพร สิทธิเลิศพิศาล, ภัทรา วัฒนพันธุ์, จักรกริช กล้าผจญ
Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200. Email: [email protected]
บทคัดย่อ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมักมีอาการอ่อนแรงและเกร็งของขาข้างที่เป็นอัมพาต  การใช้การกระตุ้นไฟฟ้าเป็นอีกวิธีหนึ่งของการรักษาอาการดังกล่าว  ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการเกร็งเหยียดของข้อเท้า  และความแข็งแรงกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้า  ของขาข้างอ่อนแรงในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง  หลังจากได้รับการกระตุ้น  burst  TENS  ผู้ป่วยเข้าร่วมการทดลอง  30  คน  สุ่มแบ่งเป็น  2  กลุ่มเท่า ๆ กัน  คือ  กลุ่มควบคุม  ให้โปรแกรมการฟื้นฟูสภาพทั่วไป  กลุ่มทดลองให้โปรแกรมการฟื้นฟูสภาพทั่วไปร่วมกับการกระตุ้น  burst  TENS  ทำการกระตุ้น  10  ครั้ง  ทุกวัน  เว้นเสาร์-อาทิตย์  วันละ  60  นาที  นาน  2  สัปดาห์  ประเมินการเกร็งและความแข็งแรงกล้ามเนื้อข้อเท้าก่อนและหลังการทดลองโดยใช้  Isokinetic  dynamometer  พบว่าการเกร็งเหยียดของข้อเท้า  และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ  ทั้งก่อนและหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม  โดยกลุ่มทดลองมีแนวโน้มค่าการเกร็งเหยียดของข้อเท้าลดลง 0.47 + 0.85 Nm  และค่าความแข็งแรงของการกระดกข้อเท้าเพิ่มขึ้น  1.47 + 2.53 Nm  แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  (P > 0.05)  เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง  ซึ่งเหมือนกับกลุ่มควบคุมที่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติทั้งก่อนและหลังการทดลอง  ผลการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าการใช้  burst  TENS  กระตุ้นเส้นประสาท  peroneal  nerve  ของขาข้างที่อ่อนแรงของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง  อาจไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเกร็งเหยียดของข้อเท้า  และความแข็งแรงกล้ามเนื้อกระดกข้อเท้าข้างอ่อนแรง 
ที่มา
วารสารกายภาพบำบัด ปี 2550, September-December ปีที่: 29 ฉบับที่ 3 หน้า 104-114
คำสำคัญ
Rehabilitation program, Spasticity, Strength, Stroke patient, TENS