ประสิทธิผลของการทาเจลพริกในการรักษาความเจ็บปวดข้อต่อขากรรไกรชนิดเฉียบพลัน
กนกวรรณ พัฒนไพรสณฑ์, ครองธรรม แช่มคำ, พัชรินทร์ รุ่งนภาเวทย์, ภาณุเพ็ญ สิทธิสมวงศ์*, วรางคณา ชิดช่วงชัย, สิรีธร ศรพิทักษ์Occlusion Unit, Faculty of Dentistry, Mahidol University, 6 Yothi Street, Rachathawi, Bangkok 10400 Thailand
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการทาเจลพริกที่ผลิตในประเทศไทยยี่ห้อหนึ่ง ในการลดอาการเจ็บปวดข้อต่อขากรรไกรชนิดเฉียบพลัน มีผู้ป่วยร่วมงานวิจัยทั้งหมด 15 คน (เพศชาย 2 คน เพศหญิง 13 คน) อายุเฉลี่ย 32.3 ± 14.7 ปี แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่มตัวอย่างจากตารางสุ่ม คือ กลุ่มใช้ยาหลอก 8 คน (เพศชาย 1 คน เพศหญิง 7 คน) และกลุ่มทดลอง 7 คน (เพศชาย 1 คน เพศหญิง 6 คน) ผู้วิจัยสาธิตการใช้เจลพริกความเข้มข้น 0.025% ในกลุ่มทดลอง และเจลเบสในกลุ่มใช้ยาหลอก ปริมาณ 0.02 มิลลิลิตร โดยการนวดบริเวณข้อต่อขากรรไกรที่เจ็บวันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ก่อนและหลังการใช้เจล ให้ผู้ป่วยระบุระดับความเจ็บปวดโดยวิธีชอลอนาลอกสเกล (Visual analogue scale: VAS) และวัดระยะการอ้าปากกว้างที่สุด ผู้วิจัยคนเดิมตรวจข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยวทุกสัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า ก่อนใช้เจล กลุ่มใช้ยาหลอกมีระดับความเจ็บปวดเฉลี่ย 3.13± 1.90 มีระยะอ้าปากเฉลี่ย 35.75± 8.41 มม. หลังใช้เจล 4 สัปดาห์ มีระดับความเจ็บปวดเฉลี่ย 4.86-1.37มม. และ 33.50 10.82 มม. ตามลำดับ หลังใช้เจล ระดับความเจ็บปวดเฉลี่ยคือ 1.33 1.58 และระยะอ้าปากเฉลี่ย 44.00 10.65 มม. ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีร้อยละของระดับการเจ็บปวดข้อต่อขากรรไกรลดลงเฉลี่ยมากขึ้นกว่าก่อนใช้เจล อย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.0004) แม้พบอาการข้างเคียงจากการใช้เจลพริกคือ มีอาการปวดแสบปวดร้อน มีผื่นแดงในบริเวณที่ทาใน 2 สัปดาห์แรกที่ใช้ยา หลังจากนั้นอาการข้างเคียงจะหายไป ในการศึกษานี้ สรุปได้ว่าการทาเจลพริกที่ผลิตในประเทศไทยมีประสิทธิผลในการลดอาการเจ็บปวดข้อต่อขากรรไกรชนิดเฉียบพลันได้ดีกว่าการทาเจลเบส เมื่อใช้อย่างต่อเนื่องภายใน 4 สัปดาห์
ที่มา
วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์มหิดล ปี 2549, September-December
ปีที่: 26 ฉบับที่ 3 หน้า 237-247
คำสำคัญ
Capsaicin gel, temporomandibular disordors, ดิสออร์เดอร์, เจลพริก, เท็มไพโรแมนดิบูลาร์