ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับน้ำยาอดบุหรี่ในการเลิกสูบบุหรี่ของคนงานชายโรงพยาบาลตากสิน กรุงเทพมหานคร
จิราภรณ์ กลิ่นศรีสุขCommunity Medicine Section, Taksin Hospital
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) เพื่อศึกษาจำนวนผู้ที่เลิกบุหรี่ได้ ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับข้อมูลการสูบบุหรี่กับการปฏิบัติตัวในการเลิกสูบบุหรี่ และเปรียบเทียบการรับรู้เกี่ยวกับข้อมูลการสูบบุหรี่ ในกลุ่มเปรียบเทียบและกลุ่มทดลอง ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นคนงานชายที่ปัจจุบันเป็นผู้สูบบุหรี่มาก่อนเข้าร่วมโปรแกรมนานมากกว่า 1 ปี โดยสูบบุหรี่ทุกวันอย่างน้อยวันละ 5 มวน และปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลตากสิน และอาสาสมัครเข้าร่วมโปรแกรม จำนวน 40 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มเปรียบเทียบ 20 คน และกลุ่มทดลอง 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม พ.ศ.2546 โดยกลุ่มเปรียบเทียบได้รับยาอดบุหรี่อย่างเดียว ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการสอนสุขศึกษาร่วมกับการใช้ยาอดบุหรี่ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมสุขศึกษา น้ำยาอดบุหรี่ และเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามประเมินการรับรู้ข้อมูลการสูบบุหรี่ และการปฏิบัติตัวในการเลิกสูบบุหรี่ แบบบันทึกพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และการใช้น้ำยาอดบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติ ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test (proportion), independent t-test และ correlation
ที่มา
ตากสินเวชสาร ปี 2547, January-June
ปีที่: 22 ฉบับที่ 1 หน้า 27-39
คำสำคัญ
Health Education Programs, Smoking cessation, การเลิกสูบบุหรี่, โปรแกรมสุขศึกษา