การศึกษาผลของยาคลอเฟนิรามีน 2 มิลลิกรัมและยาเทอเฟนาดีน 60 มิลลิกรัมต่อระบบประสาทส่วนกลางที่ระดับน้ำทะเล และความสูง 10,000 ฟุต
โชคชัย ขวัญพิชิต, ธีระภาพ เสนะวงษ์, ประจิตต์ ประจักษ์จิตต์, ดุสิต สุจิธารัตน์สถาบันเวชศาสตร์การบิน กรมแพทย์ทหารอากาศ
บทคัดย่อ
ปัจจุบันมียากลุ่ม Antihistamine อยู่เป็นจำนวนมากที่ถูกดัดแปลงให้มีฤทธิ์ sedative น้อยลง เช่น Chlorpheniramine 2 มิลลิกรัม (CPM 2mg) โดยที่ยังไม่มีการศึกษาผลกระทบต่อการทำงานระบบประสาทส่วนกลางอย่างแน่ชัด การวิจัยครั้งนี้จึงทำการศึกษาผลของ CPM 2 mg ต่อระบบประสาทส่วนกลางที่ระดับน้ำทะเลและความสูง 10,000 ฟุต และผลของ Terfenadine 60 mg ที่ระดับน้ำทะเลและความสูง 10,000 ฟุตเช่นกัน เนื่องจากยังไม่มีการวิจัยใดได้ทำการศึกษาที่ระดับ 10,000 ฟุต ซึ่งเป็นระดับความสูงที่ผู้ทำการในอากาศสามารถปรับตัวต่อภาวะ hypoxia ได้ (physiological zone) (3, 4, 5) ทั้งนี้เพื่อนำผลการวิจัยประยุกต์ใช้ในผู้ทำการในอากาศ วิธีดำเนินการวิจัย ทำการศึกษาเชิงทดลอง Single Blind Pre and Post Test Quasi Experimental Design โดยทำการเปรียบเทียบการวัด subjective test (ซึ่งใช้สอบถามอาการง่วง) และ objective test (ซึ่งใช้วัดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง มี 2 แบบ คือ Stringing Buttons Test และ Concentration Test ที่ระดับน้ำทะเลและความสูง 10,000 ฟุต ของยาแต่ละชนิดภายในตัวอย่างคนเดียวกัน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครชาย จำนวน 22 คน และทำการวิเคราะห์เชิงสถิติโดย Repeated Measured ANOVA และวิเคราะห์ปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่ายา CPM 2 mg มีผลเสียต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทั้งที่ความสูงระดับน้ำทะเลและความสูง 10,000 ฟุต โดยที่บุคลิกภาพแบบเก็บตัว (introvert) นั้นจะมีผลน้อยกว่า ในขณะที่ Terfenadine 60 mg ไม่มีผลดังกล่าวที่ความสูงทั้ง 2 ระดับในทุกบุคลิกภาพและ CPM 2 mg ทำให้การทำงานของระบบประสาทส่วนกลางเสียไปตั้งแต่อาการง่วงยังไม่ปรากฏ ข้อเสนอแนะ ผู้ทำการในอากาศจึงไม่ควรใช้ยาทุกชนิดที่มี CPM 2 mg เป็นส่วนประกอบ ในขณะที่ Terfenadine 60 mg ควรได้รับการศึกษาต่อไป
ที่มา
แพทยสารทหารอากาศ ปี 2539, April
ปีที่: 42 ฉบับที่ 2 หน้า 13-22
คำสำคัญ
Antithistamine