เปรียบเทียบผลของระบบการบริการทางการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชแบบญาติมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในการดูแล
กรเกศ พรหมดี, สายพิณ กมลชัย*
โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
บทคัดย่อ
        การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองเพื่อเปรียบเทียบผลของระบบการบริการทางการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชแบบญาติมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในการดูแล กรอบแนวคิดที่นำมาเป็นแนวทางในการศึกษา คือแนวคิดทางจิตวิทยาสังคม (Psycho-Social Model) ของ Knowlis’s (1997) กลุ่มประชากรคือผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในตึกจิตเวชสังเกตอาการ โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2541 – ตุลาคม 2542 กลุ่มตัวอย่างมี 3 กลุ่ม ได้แก่1)      กลุ่มทดลองคือผู้ป่วยที่เข้ารักษาแบบญาติมีส่วนรวมในการดูแล จำนวน 30 ราย และญาติ 30 ราย2)      กลุ่มควบคุม คือ กลุ่มผู้ป่วยแบบญาติไม่มีส่วนร่วม 30 ราย และญาติ 30 ราย3)      กลุ่มบุคลากรที่ปฏิบัติงานในตึกจิตเวชสังเกตอาการ จำนวน 31 ราย การเลือกลุ่มตัวอย่าง ทั้ง 3 กลุ่มแบบการสุ่มตัวอย่างกระจาย (Random Assignment)                โปรแกรมที่ใช้ทดลองคือ ระบบการจัดการทางการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวช แบบญาติมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ญาติที่มาเฝ้าผู้ป่วยตลอดร่วมฟังการให้คำแนะนำ ร่วมตัดสินใจในการเข้ากลุ่มบำบัดทางการพยาบาลและให้การดูแลผู้ป่วย                เครื่องมือที่ใช้ วัดผลของการทดลองเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยแบบสอบถาม 5 ชุด คือ 1.       แบบวัดความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการบริการทางการพยาบาล2.       แบบวัดสภาวะสุขภาพจิต (ThaiGHQ-30)  3.       แบบวัดอาการทางจิต4.       แบบวัดความพึงพอใจของญาติต่อการบริการทางการพยาบาลฯ5.       แบบสอบถามทัศนคติของบุคลากรต่อการดูแลผู้ป่วยแบบญาติมีส่วนร่วมในการดูแล                การวิเคราะห์ข้อมูล  ใช้โปรแกรม SPSS/FW version 9 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t-test                 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มทดลอง มีอาการทางจิตขณะจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลและอัตราการกลับเข้ารักษาซ้ำดีกว่าผู้ป่วยกลุ่มควบคุม และค่าใช้จ่ายในการรักษาของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ที่มา
วารสารโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ ปี 2543, October-March ปีที่: 2 ฉบับที่ 1 หน้า 29-38
คำสำคัญ
Nursing service system, Relative participatory, Relative unparticipatory-Service system, ระบบการบริการทางการพยาบาล ผู้ป่วยแบบญาติมีส่วนร่วม, ระบบการบริการทางการพยาบาล ผู้ป่วยแบบญาติไม่มีส่วนร่วมในการดูแล