ประสิทธิภาพของการใช้ยาไมโสพรอสซอลขนาด 400 ไมโครกรัมเหน็บทางช่องคลอดเพื่อช่วยในการเตรียมปากมดลูกของหญิงวัยหมดประจำเดือนก่อนการขูดมดลูก
อรวรรณ เล็กสกุลไชยDepartment of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Thammasat University, Patumtani, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพของยาไมโสพรอสตอลขนาด 400 ไมโครกรัมในการเตรียมปากมดลูกของหญิงวัยหมดระดูก่อนการขูดมดลูกวิธีการวิจัย: หญิงวัยหมดระดูที่มีภาวะเลือดออกผิดปรกติจากโพรงมดลูกจำนวน 60 คน ถูกคัดเลือกแบบสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการเหน็บยาไมโสพรอสตอลขนาด 400 ไมโครกรัม และกลุ่มที่ได้รับการเหน็บยาหลอกทางช่องคลอดเป็นเวลา 16 ชั่วโมง ก่อนการขูดมดลูก โดยประเมินความแตกต่างของขนาดของการเปิดขยายปากมดลูกก่อนและหลังการเหน็บยา ภาวะแทรกซ้อน และผลข้างเคียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นผลการวิจัย: ก่อนการเหน็บชา พบว่าค่าการเปิดขยายเฉลี่ยของปากมดลูก ในกลุ่มที่ได้รับยาไมโสพรอสตอล (4.0 ± 1.2 มม.) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากค่าการเปิดขยายเฉลี่ยในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (3.7 ± 1.7 มม.) (P = 0.44) และไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในค่าเฉลี่ยของการเปิดขยายของปากมดลูกหลังการเหน็บยา 16 ชั่วโมง ของยาไมโสพรอสตอล (4.4 ±1.4 มม.) และยาหรอก (4.0 ± 0.7 มม.) รวมทั้งไม่พบภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงอย่างรุนแรงในการศึกษานี้สรุป: การเหน็บยาไมโสพรอสตอลขนาด 400 ไมโครกรัมเป็นเวลา 16 ชั่วโมงก่อนการขูดมดลูกในหญิงวัยหมดระดูไม่เพิ่มการเปิดขยายของปากมดลูก
ที่มา
ธรรมศาสตร์เวชสาร ปี 2550, July-September
ปีที่: 7 ฉบับที่ 3 หน้า 205-210
คำสำคัญ
Cervical priming, Menopausal women, Vaginal misoprostol