ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการเกิดแผลที่เท้าและอาการชาที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน: กรณีศึกษา โรงพยาบาลหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
พุฒินันต์ นามดีLomsak Hospital, Petchabun Province
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อการศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลเชิงป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวานในโรงพยาบาลหล่มสัก โดยใช้ตัวชี้วัดคืออัตราการเกิดแผลที่เท้า ของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวานของโรงพยาบาลหล่มสัก และเพื่อศึกษาความประสิทธิผลและความแตกต่าง อัตราการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยที่มีอาการชาเท้ากับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการชาเท้าภายหลังการให้บริการเชิงป้องกันวิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงทดลอง เกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าโปรแกรม เริ่มจากการคัดกรองโดยการตรวจ monofilament และพบความผิดปกติ โดยผู้ป่วยจะถูกแบ่งเป็นสองกลุ่มจำนวนสมาชิกกลุ่มละ 146 คน กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมแทรกแซงคือ โปรแกรมการดูแลเชิงป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมการดูแลตามมาตรฐานปกติของโรงพยาบาล คือการให้สุขศึกษา การประเมินผลการศึกษาจะประเมินทุก 2 เดือน จนครบ 1 ปี (ตั้งแต่ กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 ถึง มกราคม พ.ศ.2551)ผลการศึกษา: อัตราการเกิดแผลที่เท้าของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือร้อยละ 15.75 และ 17.80, p-value = 0.04สรุป: โปรแกรมการดูแลเชิงป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในการศึกษาครั้งนี้สามารถป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานโดยลดการเกิดแผลที่เท้าได้
ที่มา
ขอนแก่นเวชสาร ปี 2549, August
ปีที่: 33 ฉบับที่ Supplement 5 หน้า 158-164
คำสำคัญ
เบาหวาน, Diabetic foot, Diabetic foot prevention, DM, การป้องกัน, ภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน, แผลที่เท้า