การศึกษาเปรียบเทียบความสำเร็จในการใส่ท่อหลอดคอชนิดสองรูข้างซ้ายด้วยวิธีการใส่แกนลวดตลอดการใส่ท่อหลอดคอกับวิธีปกติ
Bunchungmongkol N, Nisoong C*, Punjasawadwong Y, พัดชา ชัชวรัตน์Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: ท่อหลอดคอชนิดสองรูเป็นอุปกรณ์ในการช่วยหายใจแบบวิธีแยกปอด แต่ถ้าตำแหน่งของท่อหลอดคอชนิดสองรูอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม จะมีผลกระทบต่อภาวะออกซิเจนในกระแสเลือด วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความสำเร็จการใส่ท่อหลอดคอชนิดสองรูข้างซ้ายในหลอดลมข้างซ้าย ระหว่างการใส่แกนลวดตลอดการใส่กับวิธีปกติ วิธีการ: ผู้ป่วยจำนวน 60 คน มาผ่าตัดทรวงอกที่ไม่เร่งด่วน โดยการช่วยหายใจด้วยวิธีแยกปอด (one-lung ventilation) และใช้ท่อหลอดคอชนิดสองรูข้างซ้าย ผู้ป่วยทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 30 คน โดย C-group เป็นกลุ่มควบคุม ได้รับการใส่ท่อหลอดชนิดสองรูข้างซ้ายด้วยวิธีปกติ คือการใส่ท่อหลอดคอชนิดสองรู โดยดึงแกนลวดออกเมื่อ bronchial cuff ของท่อหลอดคอชนิดสองรู ผ่านเส้นเสียงแล้ว หลังจากนั้นหมุนท่อหลอดคอชนิดสองรูทวนเข็มนาฬิกา 90๐แล้วดันท่อหลอดคอชนิดสองรูเข้าไปจนรู้สึกว่ามีแรงต้าน แล้วจึงหยุด ส่วน S-group เป็นกลุ่มศึกษาได้รับการใส่ท่อหลอดคอชนิดสองรูข้างซ้ายเหมือนวิธีปกติ แต่จะดึงแกนลวดออกก็ต่อเมื่อใส่ท่อหลอดคอชนิดสองรูเสร็จ หลังจากนั้นจะตรวจสอบตำแหน่งที่เหมาะสมของท่อหลอดคอชนิดสองรูด้วยกล้องส่องหลอดลมชนิดใยแก้วนำแสง (fiberoptic bronchoscope) ผลการศึกษา: ความสำเร็จในการใส่ท่อหลอดคอชนิดสองรูในกลุ่ม S-group สูงกว่าในกลุ่ม C-group (97% vs 74%, p = 0.02) และการใส่นั้นท่อหลอดคออยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมในกลุ่ม S-group และ C-group อยู่ที่ 20% และ 13% ตามลำดับ (p = 0.73) ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงทั้งสองกลุ่มที่ศึกษาสรุป: ความสำเร็จของการใส่ท่อหลอดคอชนิดสองรูของผู้ป่วยที่สามารถใส่ท่อหลอดคอชนิดสองรูเข้าหลอดลมซ้ายสำเร็จพบว่า กลุ่มที่ใส่แกนลวดตลอดการใส่ท่อหลอดคอชนิดสองรู มีความสำเร็จมากกว่ากลุ่มที่ใส่ด้วยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2550, July-September
ปีที่: 33 ฉบับที่ 3 หน้า 161-168
คำสำคัญ
Left double-lumen tube, Left mainstem bronchus, Retained stylet