การใช้ atropine 0.9 มก.ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มน้อยกว่า atropine 1.2 มก. เมื่อให้ร่วมกับ neostigmine 2.5 มก.ในผู้ใหญ่
สิริรัตน์ ตรีพุทธรัตน์*, เทพกร สาธิตการมณี, เพ็ญวิสา แนวทองDepartment of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเพิ่มของอัตราการเต้นของหัวใจระหว่าง atropine 0.9 มก. และ 1.2 มก. เมื่อให้ร่วมกับ neostigmine 2.5 มก. ในการแก้ฤทธิ์ของยาหย่อนกล้ามเนื้อชนิด non-depolarizing ในผู้ใหญ่ รูปแบบการวิจัย: prospective randomized, double blind, controlled trialวัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยผู้ใหญ่ 46 ราย ASA I-II ที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวชและศัลยกรรมโดยการระงับความรู้สึกชนิด balanced general anesthesia ถูกสุ่มแยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มศึกษาได้รับ atropine 0.9 มก. ขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับ atropine 1.2 มก.ร่วมกับ neostigmine 2.5 มก.เพื่อแก้ฤทธิ์ยาหย่อนกล้ามเนื้อชนิด non-depolarizing เมื่อเสร็จผ่าตัด บันทึกอัตราการเต้นของหัวใจและความดันเลือดที่นาทีที่ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 15, 20, 25 และ 30 หลังได้รับยา เปรียบเทียบการเพิ่มของอัตราการเต้นของหัวใจและความดันเลือดของทั้ง 2 กลุ่มที่แต่ละเวลาผลการศึกษา: อัตราการเต้นของหัวใจที่นาทีที่ 3, 4, 5 และ 6 ของกลุ่มศึกษาเพิ่มขึ้นน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ส่วนความดันเลือดแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญ ไม่พบอาการข้างเคียงสรุป: การใช้ atropine 0.9 มก.ร่วมกับ neostigmine 2.5 มก.เพื่อแก้ฤทธิ์ของยาหย่อนกล้ามเนื้อชนิด non-depolarizing หลังผ่าตัดทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มน้อยกว่า atropine 1.2 มก. จึงน่าจะใช้ได้โดยปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในผู้ป่วยที่อาจมีอันตรายจากภาวะหัวใจเต้นเร็ว
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2551, May
ปีที่: 91 ฉบับที่ 5 หน้า 665-668
คำสำคัญ
atropine, reversal, Agent, Increase in Heart Rate