การเปรียบเทียบการลดความเจ็บปวดของฝีเย็บภายหลังเย็บแผลฝีเย็บทันทีระหว่างการบริหารยาไดโครฟีแนคและยาหลอกทางทวารหนัก
วิทยา ถิฐาพันธ์, วุฒินันท์ อัจฉริยะโพธา*Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการบริหารยาไดโครฟีแนคทางทวารหนักในการลดความเจ็บปวดแผลฝีเย็บภายหลังการเย็บแผลฝีเย็บทันทีวิธีการศึกษา: การทดลองแบบสุ่มอำพรางโดยการเปรียบเทียบกับยาหลอกวัสดุและวิธีการ: สตรีตั้งครรภ์เดี่ยวจำนวน 72 ราย ที่คลอดบุตรปกติทางช่องคลอดร่วมกับมีบาดแผลบริเวณฝีเย็บที่เกิดจากการตัดฝีเย็บที่มีระดับความรุนแรงของบาดแผลระดับ 2 หรือ 3 จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มแบบสุ่มอำพราง เพื่อรับยาไดโครฟีแนคขนาด 50 มิลลิกรัมหรือยาหลอกอย่างละ 2 เม็ดทางทวารหนักภายหลังการเย็บแผลฝีเย็บเสร็จทันที สตรีคลอดบุตรดังกล่าวจะได้รับการประเมินความเจ็บปวดภายหลังการเย็บแผลฝีเย็บเสร็จทันที และเมื่อ 30 นาที, 1, 2, 12, และ 24 ชั่วโมงต่อมา โดยประเมินความเจ็บปวดด้วย Visual analogue score ซึ่งมีค่าคะแนนจาก 0-10ผลการศึกษา: จากการศึกษาไม่พบความแตกต่างในค่ามัธยฐานระดับคะแนนความเจ็บปวดของฝีเย็บภายหลังเย็บแผลฝีเย็บเสร็จทันทีจนถึง 2 ชั่วโมงต่อมา (p > 0.05) แต่พบว่า ในกลุ่มที่รับยาไดโครฟีแนคเหน็บทางทวารหนัก จะมีค่ามัธยฐานระดับคะแนนความเจ็บปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 12 และ 24 ชั่วโมงภายหลังการเย็บ แผลฝีเย็บเสร็จ เปรียบเทียบกับกลุ่มทดลอง (คะแนน 4.5 เทียบกับ 0.0, p < 0.001 และ คะแนน 2.0 เทียบกับ 0.0, p = 0.02 ที่ระยะเวลา 12 และ 24 ชั่วโมงตามลำดับ)สรุป: ยาไดโครฟีแนคเหน็บทางทวารหนักมีประสิทธิภาพในการลดความเจ็บปวดแผลภายหลังเย็บแผลฝีเย็บที่ระยะเวลา 12 และ 24 ชั่วโมงภายหลังการบริหารยา
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2551, June
ปีที่: 91 ฉบับที่ 6 หน้า 799-804
คำสำคัญ
Diclofenac, Episiotomy, Perineal pain, Rectal suppositories