การสวนหรือไม่สวนอุจจาระเพื่อเตรียมการคลอดในสตรีตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอด: การศึกษาโดยมีกลุ่มควบคุมแบบสุ่ม
วิราวรรณ ศรีงามวงศ์, เอกชัย โควาวิสารัช*
P.O. Box 28, Rajavithi Post Office, Bangkok 10408, Thailand. E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดที่ได้รับการสวนอุจจาระและไม่ได้รับการสวนอุจจาระเพื่อเตรียมการคลอด ในด้าน1.1 อัตราการปนเปื้อนของอุจจาระในระยะต่างๆของการคลอด1.2 ระยะเวลาของการคลอด1.3 อัตราการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บของสตรีตั้งครรภ์1.4 อัตราการติดเชื้อในทารกแรกเกิดวัสดุและวิธีการ: สตรีตั้งครรภ์ครบกำหนดที่เจ็บครรภ์และเข้าเกณฑ์การคัดเลือกไว้ในการศึกษาที่ คลอดที่ รพ.ราชวิถี ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2545 ได้เข้ามาในการศึกษานี้ 1,100 คน หลังจากที่ได้ตัดผู้ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง 73 คน คงเหลือสตรีที่อยู่ในกลุ่มที่ 1 ซึ่งได้รับการสวนอุจจาระในการเตรียมคลอด และกลุ่มที่ 2 ซึ่งไม่ได้รับการสวนอุจจาระในการเตรียมการคลอดเท่ากับ 500 คน และ 527 คนตามลำดับผลการศึกษา: ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์ ของ สตรีตั้งครรภ์ ได้แก่ อายุของมารดา, อายุครรภ์, จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ และการคลอดบุตร, วิธีการคลอด, ชนิดของการตัดฝีเย็บและระดับความรุนแรงของการฉีกขาดของแผลฝีเย็บระหว่างกลุ่มที่ได้รับและกลุ่มที่ ไม่ได้รับการสวนอุจจาระแต่อัตราการปนเปื้อนของอุจจาระในระยะที่สองของการคลอดในกลุ่มที่ได้รับและกลุ่มที่ ไม่ได้ รับการสวนอุจจาระคือ ร้อยละ 22.8 และ 34.9 ตามลำดับ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ระยะเวลาการคลอดของกลุ่มที่ ได้รับการสวนอุจจาระ พบว่าสั้นกว่ากลุ่มไม่ได้ รับการสวนอุจจาระอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (409.4 และ 459.8 นาที ตามลำดับ) (p < 0.001) อัตราการติดเชื้อบริเวณแผลฝีเย็บของกลุ่มที่ได้รับการสวนอุจจาระไม่แตกต่างกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการสวนอุจจาระ คือร้อยละ 0.006 และ0.005 ตามลำดับ (p = 0.547) ไม่พบการติดเชื้อของทารกแรกเกิดในทั้งสองกลุ่มสรุป: การไม่สวนอุจจาระเพื่อเตรียมการคลอดในสตรีตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดมีอัตราการปนเปื้อนของอุจจาระ ในระยะที่สองของการคลอดมากกว่าและระยะเวลาของการคลอดยาวนานกว่า เมื่อเทียบกับการสวนอุจจาระอย่างมีนัยสำคัญแต่อัตราการติดเชื้อบริเวณแผลฝีเย็บของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน และไม่พบว่ามี การติดเชื้อของทารกแรกเกิดในทั้งสองกลุ่ม
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2548, December ปีที่: 88 ฉบับที่ 12 หน้า 1763-1767
คำสำคัญ
Duration of labor, Enema, Fecal contamination, Neonatal infection, No enema, Perineal wound infection