แบบสอบถามคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ป่วยโรคลมชักฉบับภาษาไทย: การแปลความถูกต้องและความเชื่อถือได้
กัมมันต์ พันธุมจินดา, จิตร สิทธิอมร, ธนินทร์ อัศววิเชียรจินดา*, เอ็ดการ์ เจ เลิฟDepartment of Medicine, Maharat Nakhonratchasima Hospital, 49 Changpuak Rd, Tumbon Nai Muang, Amphur Muang, Nakhonratchasima, 30000, Thailand. Phone: 0-4434-1310-9 ext. 8807, 0-1850-2183 , Fax: 0-4424-6389, E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความถูกต้องและความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ป่วยโรคลมชักฉบับภาษาไทยวัสดุและวิธีการ: มีการตรวจสอบความถูกต้องของแบบสอบถามฉบับภาษาไทย โดยการแปลแบบสอบถามฉบับดั้งเดิมเป็นภาษาไทยจากนั้นมีการตรวจสอบความหมายและแปลกลับเป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้คงความหมายดั้งเดิม จากนั้นมีการปรับเปลี่ยนภาษาไทยให้สอดคล้องกับผู้ป่วยในพื้นที่ที่จะใช้แบบสอบถาม และมีการประเมินความเชื่อถือได้ โดยผู้ป่วยโรคลมชักที่ยินดี ตอบแบบสอบถามที่มีอายุระหว่าง 18-65 ปีไม่มีความผิดปกติทางด้านสติปัญญาและการใช้ภาษาที่มาตรวจที่โรงพยาบาลชุมชน 6 แห่งที่ยินดีเข้าร่วมโครงการ ในจังหวัดนครราชสีมาผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 161 รายได้ทำแบบสอบถาม มีร้อยละ 88.2 ของผู้ป่วยที่ตอบคำถามทุกข้อ โดยที่การศึกษาของผู้ป่วยมีผลต่อการตอบหรือไม่ตอบคำถาม ความเชื่อถือได้ ของแบบสอบถามในแต่ละเรื่องสูงกว่าค่ามาตรฐานที่ยอมรับได้ (0.7) ยกเว้นเรื่องความนึกคิด ผลจากยากันชัก และการเข้าสังคมสรุป: แบบสอบถามคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ป่วยโรคลมชักฉบับภาษาไทยมีความเชื่อถือได้ แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีการศึกษาน้อยจำเป็นที่จะต้องมีผู้ช่วยในการทำแบบสอบถาม การศึกษาที่จำเป็นต่อไปคือการประเมินว่าแบบสอบถามนี้ ว่าสามารถใช้เปรียบเทียบผลการศึกษาในทางคลินิกได้หรือไม่
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2548, December
ปีที่: 88 ฉบับที่ 12 หน้า 1782-1789
คำสำคัญ
Quality of life, Thailand, Reliability, Validity, Epilepsy