คุณภาพชีวิตและการควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวาน ที่มาตรวจรักษาที่หน่วยตรวจโรคผู้ป่วยนอกอายุรกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี
พงศ์อมร บุนนาค, บุญจันทร์ วงศ์สุนพรัตน*, นพวรรณ พุกพบสุข, ฉัตรประอร งามอุโฆษDepartment of Nursing, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok 10400
บทคัดย่อ
เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่คุกคามต่อคุณภาพชีวิต เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือดและภาวะแทรกซ้อนของโรค การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานที่มาตรวจรักษาที่หน่วยตรวจโรคผู้ป่วยนอกอายุรกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยเจาะจงคุณสมบัติ จํานวน 497 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามเป็นข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณคุณภาพชีวิตของผู้เป็นนเบาหวาน (Diabetes Quality of Life : DQOL; 1987, 1999) ฉบับแปลเป็นภาษาไทย และข้อมูลจากเวชระเบียน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 71.4 เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 17-91 ปี อายุโดยเฉลี่ย 57.43±13.80 ปี ร้อยละ 90.3 เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โดยเฉลี่ยเป็นมานาน 10.20±7.98 ปี ผู้เป็นเบาหวานร้อยละ 88.3 รับรู้ว่ามีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับสูง และมีเพียงร้อยละ 11.7 ที่รับรู้ว่ามีคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับน้ำตาลในเลือด FPG และ HbA1C สูงกว่าเป้าหมาย (ร้อยละ 55.7 และร้อยละ 47.2 ) มีเพียงร้อยละ 37 และร้อยละ 25 ที่มีระดับน้ำตาลในเลือด FPG และ HbA1C อยู่ในเป้าหมาย ผลการวิเคราะห์เพิ่มเติมพบว่า ผู้เป็นเบาหวานกลุ่มที่มีการศึกษาน้อย กลุ่มที่เสียค่ารักษาเองและเบิกค่ารักษาได้ กลุ่มที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มที่มีอายุมาก กลุ่มที่มีระดับน้ำตาลในเลือด FPG และมี HbA1C ดีตามเป้าหมาย มีคุณภาพชีวิตสูง สรุป จากงานวิจัยดังกล่าว พบว่าผู้เป็นเบาหวานส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่ามีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ยังควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ดังนั้นการที่ผู้ดูแลช่วยเหลือกระตุ้นให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้นเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนยังเป็นสิ่งที่มีความจําเป็น
ที่มา
รามาธิบดีเวชสาร ปี 2548, October-December
ปีที่: 28 ฉบับที่ 4 หน้า 227-235
คำสำคัญ
Quality of life, Diabetes, คุณภาพชีวิต, Glycemic control, การควบคุมระดับน้ําตาลในเลือด, ผู้เป็นเบาหวาน