ผลข้างเคียงของการใช้ยาหยอดตา 2.5% และ 10% Phenylephrine ต่อความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ
อุดม ภู่วโรดม
Department of Ophthalmology Nopparatrajathanee Hospital, Bangkok, Thailand
บทคัดย่อ
                การศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบในการขยายรูม่านตาและผลข้างเคียงต่อความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจของ Phenylephrine eye drop ที่ความเข้มข้น 2.5% และ 10% เป็นการศึกษาแบบเก็บข้อมูลไปข้างหน้า (Prospective) โดยผู้ป่วยทุกคนที่มาตรวจครั้งแรกจะได้รับการสุ่มเลือกยาหยอด Phenylephrine เพื่อขยายรูม่านตา ที่ขนาดความเข้มข้น 2.5% หรือ 10% จำนวน 2 ครั้งห่างกัน 5 นาที และวัดขนาดรูม่านตา (pupil diameter) ความดันโลหิต (blood pressure) และอัตราการเต้นของหัวใจ (pulse rate) ก่อนหยอดยา และหลังหยอดยาที่ 5 นาที 15 นาที และ 30 นาที หลังจากนั้นอีก 1 เดือน ผู้ป่วยรายเดิมจะได้รับการตรวจตามขั้นตอนดังกล่าว ยกเว้นจะเปลี่ยนแปลงเฉพาะความเข้มข้นของยาเท่านั้นมีผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจรวม 66 ราย  เป็นชาย 16 ราย หญิง 50 ราย พบว่ากลุ่มที่ใช้ 10 % Phenylephrine รูม่านตาสามารถขยายมากกว่ากลุ่มที่ใช้ 2.5% Phenylephrine หลังจากหยอดยา 15 นาที  และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นยาหยอดตา 10% Phenylephrine จึงมีผลการขยายม่านตาได้ดีและปลอดภัย
ที่มา
วารสารกรมการแพทย์ ปี 2549, October-December ปีที่: 31 ฉบับที่ 4 หน้า 317-323
คำสำคัญ
Pap smear, VIA, การตรวจดูหลังการป้ายกรดน้ำสัม