คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคลมชักในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
วิริยา เชื้อลี*, สมศักดิ์ เทียมเก่า, สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาลDepartment of Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคลมชักวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาในกลุ่มผู้ป่วยนอกที่ได้รับการวินิจฉัยโรคลมชัก จำนวน 100 ราย ที่มาระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2547 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ.2547 โดยใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลทั่วไปรายละเอียดของการชัก ผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและยาที่ใช้ในการรักษา ส่วนที่ 2 เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตคือ SF-36 ฉบับภาษาไทย สถิติวิเคราะห์ใช้ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ยจาก SF-36 แบ่งเป็น 8 กลุ่มๆ ละ 100 คะแนน คือ physical functioning, role limitations due to physical health problems, bodily pain, social functioning, emotional well-being, role limitation because of emotional problems, vitality (energy/fatigue), and general health perceptionผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคลมชัก 100 ราย เป็นชาย 52 ราย (ร้อยละ 52) และหญิง 48 ราย (ร้อยละ 48), อายุเฉลี่ย 37.23 ปี (16-76 ปี) ส่วนมากเป็นโสด (ร้อยละ 41) มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี (ร้อยละ 59) ไม่มีงานทำ (ร้อยละ 47) มีรายได้จากบิดามารดาหรือต้องพึ่งพาครอบครัว (ร้อยละ 49๗ รายได้เฉลี่ยของครอบครัว < 10,000 บาท/เดือน (คิดเป็นร้อยละ 59) อายุที่เริ่มมีอาการชักเฉลี่ย 28.71 ปี ชนิดการชักส่วนมากเป็นชักเกร็งกระตุกทั้งตัว (ร้อยละ 49) และจากแบบประเมินคุณภาพชีวิตชื่อ SF-36 พบว่าผู้ป่วยโรคลมชักมีคุณภาพชีวิตต่ำสุดในด้านการรับรู้ด้านสุขภาพทั่วไป (mean score = 58.08, SD = 25.1) รองลงมาคือ ความมีชีวิตชีวาพละกำลัง (mean score=64.6, SD = 22.4) และด้านสุขภาพจิต (mean score = 67.1, SD = 20.2) อย่างไรก็ตามคุณภาพชีวิตที่ยังดีอยู่ คือด้านสมรรถภาพทางร่างกาย (mean score = 92.7, SD = 14.8) ไม่ถูกจำกัดการทำหน้าที่ เพราะปัญหาสุขภาพกายและจิต (mean score of role limitation due to physical and emotional problems = 84.5, SD = 32.7; = 83.5, SD = 33.8 ตามลำดับ) ไม่เจ็บปวดทางร่างกาย (mean score = 83.5, SD = 22.4) และยังมีกิจกรรมทางสังคมได้พอสมควร (mean score = 83.5, SD = 23.5)สรุป: ผู้ป่วยโรคลมชักที่ศึกษาในครั้งนี้ส่วนมากเป็นกลุ่มประชากรที่มีระดับการศึกษาน้อย ไม่มีงานทำ รายได้น้อย ต้องพึ่งพาครอบครัว เมื่อศึกษาถึงคุณภาพชีวิตพบว่า ผู้ป่วยรับรู้สุขภาพทั่วไปของตนเองไม่ดี ขาดชีวิตชีวาและพละกำลัง มีอารมณ์เศร้า แต่สมรรถภาพทางร่างกายและกิจกรรมทางสังคมยังดีอยู่
ที่มา
วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2549, ตุลาคม-ธันวาคม
ปีที่: 51 ฉบับที่ 4 หน้า 356-364
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Epileptic patients, ผู้ป่วยโรคลมชัก