การศึกษานำร่องเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาแอสไพรินและยาหลอก ในการลดภาวะ Microalbuminnuria และการชลอการเสื่อมของไต ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน
จักรี กรณโสภณพันธ์, ณัฐพงษ์ สนธยานนท์, สามารถ นิธินันทน์, หญิง อัมพา สุทธิจำรูญ, อุปถัมภ์ ศุภสินธุ์, อุษณา ลุวีระ*Department of Medicine, Pharmongkutklao College of Medicine
บทคัดย่อ
เบาหวานเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมสามารถชะลอการเสื่อมของไตได้ โดยเฉพาะถ้าเริ่มในระยะ microalbuminuria แอสไพรินมีฤทธิ์ลด thromboxane ซึ่งจะขยายหลอดเลือดฝอยและลดการเกาะตัวของเกร็ดเลือด น่าจะสามารถลดภาวะ microalbuminuria และชะลอการเสื่อมของไตได้วัตถุประสงค์: ต้องการทราบว่ายาแอสไพรินซึ่งมีราคาถูก นิยมใช้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองตีบ จะสามารถป้องกันภาวะ microalbuminuria และชะลอการเสื่อมของไตในโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินได้หรือไม่วิธีการศึกษา: แบ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธี randomized control กลุ่ม A ได้ยาหลอกมี 25 ราย กลุ่ม B ได้ยาแอสไพริน 60 มิลลิกรัมต่อวัน มี 22 ราย โดยมีอายุ เพศ ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิต น้ำหนักและส่วนสูงใกล้เคียงกัน diastolic BP กลุ่ม B สูงกว่า (84.09±84, 78.0±3.65, p = 0.004*) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติผลการศึกษา: จากการติดตามผู้ป่วยในเวลา 3 เดือน ระดับน้ำตาลในเลือดสูง (>9 mmol/L), Hb A1c (>7.72%) ค่อนข้างสูงทั้ง 2 กลุ่ม แสดงว่าการควบคุมเบาหวานไม่ดี ค่า creatinine ในปัสสาวะไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าโปรตีนในปัสสาวะลดลงจากจุดเริ่มต้นทั้ง 2 กลุ่มโดยกลุ่ม A (ยาหลอก) ลดลงจาก 0.02±0.10, 0.11±0.05 กรัมต่อวัน ณ จุดเริ่มต้น และเดือนที่ 3 (p = 0.04) กลุ่ม B (ยาแอสไพริน) มีค่าโปรตีนในปัสสาวะ 0.30±0.20, 0.22±0.13 กรัมต่อวัน ณ จุดเริ่มต้น และเดือนที่ 3 (p = 0.66) กลุ่ม B ลดน้อยกว่า ซึ่งในทางตรงกันข้ามค่า creatnine ในซีรัมเพิ่มขึ้นทั้ง 2 กลุ่ม จากจุดเริ่มต้นในกลุ่ม A 97.75±8.38, 100.08±5.51 µmole/L (p = 0.40) ในกลุ่ม B ค่าสูงขึ้น 94.27±8.80, 101.456.77 µmole/L จากจุดเริ่มต้นและในเดือนที่ 3 (p = 0.04) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป: ยาแอสไพรินขนาด 60 มิลลิกรัมต่อวันไม่สามารถลดภาวะ microalbuminuria ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินและอาจทำให้ไตเสื่อมมากขึ้น จึงต้องระมัดระวังการใช้แอสไพรินโดยเฉพาะขนาดสูงในผู้ป่วยเบาหวาน
ที่มา
เวชสารแพทย์ทหารบก ปี 2542,
ปีที่: 52 ฉบับที่ 2 หน้า 75-80
คำสำคัญ
Aspirin, Chronic renal failure, Diabetic mellitus, Microalbuminuria